กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
โครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน)
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน) ณ ห้องประชุมนนทรี เก๊าไม้ล้านนา รีสอร์ท อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้ดูแลตัวชี้วัดด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจากคณะฯ สำนักฯ วิทยาลัยฯ กองฯ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆร่วมโครงการ กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ช่วงเช้าได้รายงานผลการดำเนินงาน และรวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากผู้แทนระดับคณะ สำนัก วิทยาลัย กองและผู้แทนนักศึกษา จากนั้นช่วงบ่ายรับฟังข้อเสนอแนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และร่วมกันทบทวน กำกับ และติดตามเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติกานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในครึ่งปีหลังต่อไป
27 มีนาคม 2567     |      21
เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย"
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย" ในหนเหนือ ครั้งที่ 2 เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายนิรัตน์ พงศ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมาย นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการประชุม ณ ห้องประชุม วัดพระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
18 มีนาคม 2567     |      122
คณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ร่วมปลูกต้นจามจุรี
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีปลูกต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นลูกของจามจุรีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกด้วยพระหัตถ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2505 เพื่อระลึกถึงองค์ราชาผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทย ในโอกาสครบรอบวันเกิด 107 ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย โดยคุณพัชรินทร์ สุกัณศีล ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ ลานหน้าศาลเจ้าพ่อแม่โจ้เวลา 10.00 น. ผู้ร่วมพิธีร่วมสักการะศาลเจ้าพ่อแม่โจ้ จากนั้นทายาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย คุณพัชรินทร์ สุกัณศีล และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงที่มาของต้นจามจุรีที่นำมาปลูกที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นผู้แทนมหาวิทยาลัย รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย) กล่าวขอบคุณ?จากนั้นผู้มีเกียรติร่วมปลูกต้นจามจุรี จำนวน 3 ต้น? ต้นที่ 1 ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย ปลูกร่วมกับผู้แทนมหาวิทยาลัยและอุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 2 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 3 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยและผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยต้นจามจุรีทั้ง 3 ต้น ได้รับการประสานงานโดย ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อนำมาปลูกที่แม่โจ้ ในโอกาสที่ทายาทท่าน ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ (ตัวแทนเชิญพระเกี้ยวจุฬา ปี 2515)
18 มีนาคม 2567     |      201
ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก"
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก" ระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยหอการค้าจังกวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสันติ เหล่าพาณิชย์กุล กรรมการนายทะเบียน เป็นผู้แทนในนามประธานกรรมการ ณ พิพิธภัณฑ์เฮือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งนี้ จากการที่ภาคเอกชนและภาคการศึกษาวิชาการของเมือง โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิสืบสานล้านนา นักวิชาการอิสระ และภาคประชาชน ได้มีการบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโครงการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีพิธีลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ “การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่” “Chiang Mai Spirituality Revival” เชื่อมโยงราก (Roots) จากคลังจารึกและเอกสารโบราณ หอจดหมายเหตุของสถาบันการศึกษา มาสู่การคัดสรร (Curate) การเลือกเนื้อหา ทิศทาง แบบแผนประเพณี พิธีกรรม โดย Greater Chiang Mai Culture and Heritage Think Tank Project ไปสู่การสร้างสรรค์ (Create) การนำไปใช้ ต่อยอด สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เข้าถึงได้ ตามความเชี่ยวชาญ โดย ภาคเอกชน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชน งานเทศกาล ท่องเที่ยว และงานบริการของเมือง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทุกคนได้ประโยชน์ และเกิดการตระหนักรู้ เห็นถึงคุณค่า ความหมาย ความสำคัญ ของมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมล้านนาที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นโดยพ่อครูแม่ครู มาสู่คนรุ่นใหม่ในวิถีร่วมสมัยโดยในเดือนธันวาคม 2567 นั้น ทาง กกร. จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดจัดงานเทศกาลฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่ 2567 5 เทศกาล คือ SANKAMPAENG CRAFT REVIVAL FESTIVAL : รอยหัตถกรรมความทรงจำสันกำแพง โดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย ,RIVIVING CHIANG MAI FESTIVAL : ฟื้นใจเวียงเจียงใหม่ โดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,WIANG JED LIN : เมื่อครั้งมีเวียงเจ็ดลิน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,LANNA REVIVAL MUSIC FESTIVAL : ท่วงทำนองล้านนา โดยมหาวิทยาลัยพายัพ, CHIANG MAI AND NOWHERE ELSE FESTIVAL : เพียงเจียงใหม่ โดย GREATER CHIANG MAI
18 มีนาคม 2567     |      128
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่งผู้เชี่ยวชาญเก็บข้อมูลพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการ Creative Lanna Selected Knowledge Centerโดยส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริยากร ปุสวิโร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ภายในพิพิธภัณฑ์ (Discovery museum) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันการเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้พิพิธภัณฑ์ มาแวะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อเก็บข้อมูลเป็นเบื้องต้น เพื่อถอดบทเรียน บ่มเพาะให้ได้มาตรฐาน ในด้านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ เข้ารับการบ่มเพาะโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะเจาะจงในแต่ละด้าน เพื่อมุ่งไปสู่การได้รับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของการจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน ในการนี้มีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและมีนายอนุสรณ์ วิจารณ์ปรีชา นักวิชาการศึกษา ให้ข้อมูลกับคณะผู้มาเยือนดังกล่าว
18 มีนาคม 2567     |      119
ร่วมกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนา เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย สืบสานลายผ้าล้านนา ในงานแม่โจ้บุ๊กแฟร์ 2567
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสำนักหอสมุด จัดกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนา เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย สืบสานลายผ้าล้านนา ในงานแม่โจ้บุ๊กแฟร์ 2567 ณ ห้อง Co-Maker Space สำนักหอสมุด ซึ่งมีบุคลากรกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนาฯ ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สำหรับการฉลุลายผ้าลานนา เป็นศิลปะการตัดฉลุลวดลายล้านนา บนกระดาษ และผืนผ้า ด้วยปลายกรรไกรที่ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนา วันสำคัญต่างๆ อีกทั้งสามารถทำเป็นอาชีพ หรือสร้างรายได้ด้วยการประยุกต์ลวดลายให้ทันสมัย
4 มีนาคม 2567     |      71
นำนักศึกษาเข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย นำโดยนายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล หัวหน้างานอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม นำนักศึกษาเข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22 ”ด๊ะดาด ศาสตร์ศิลป์ แผ่นดินสยาม“ เมื่อวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา จ.นครราชสีมา โดยครั้งนี้ ได้นำการแสดงชุด ”ลีลาอภิรมย์ ศิลปะการฟ้อนแม้วประยุกต์“ มาร่วมแสดงโดยได้รับความสนใจจากผู้รับชมเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และเทศบาลนครราชสีมา จัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้เยาวชนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมและตระหนักถึงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาในศิลปะการแสดงในแต่ละท้องถิ่น มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 107 สถาบัน และมีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม รวม 150 ชุดการแสดง
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      73
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมขบวนแห่เจ้าและเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2567
มื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้มอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำนักศึกษาเข้าร่วมขบวนแห่เจ้าและเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2567 จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมปุงเก่ากง เชียงใหม่ สำหรับศาลเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และถือเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยอัญเชิญองค์เจ้าปุงเถ่ากง ปุงเถ่าม่า และเทพเจ้าจีนองค์อื่น ๆ แห่รอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่และผู้ที่เคารพนับถือทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      67
ทั้งหมด 81 หน้า