กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
พิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์และพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ ประจำปี 2567 พร้อมกันนี้ได้จัดพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์ในโอกาสปรับปรุงอาคารใหม่ โดยมี ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์และนักศึกษาปัจจุบันร่วมพิธี โดยเวลา 09.09 น.พระสงฆ์ 5 รูปสวดเจริญพุทธมนต์และเทศนาจำนวน 1 กัณฑ์จากนั้นเวลา 11.29 น ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นประธานพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีอาจารย์อาทิตย์ วงศ์สว่าง เป็นเจ้าพิธีพร้อมด้วยอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาร่วมในพิธี ณ เรือนชีวะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่โรงเรียนเทพศาสตร์หรือเรือนชีวะในปัจจุบัน เป็นอนุสรณ์สำคัญสิ่งหนึ่งในแม่โจ้ ที่อาจารย์พนม สมิตานนท์สร้างไว้ คือ โรงเรียน เพื่อให้ลูกหลานของครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงาน และบุคคลทั่วไป ได้มีสถานที่เล่าเรียน (น่าจะเป็นต้นแบบของโรงเรียนสาธิตต่างๆ ในปัจจุบัน) คือ โรงเรียน “เทพศาสตร์” เพื่อรำลึกถึง “พระยาเทพศาสตร์สถิตย์” ที่พระช่วงเกษตรศิลปการ ศรัทธา เคารพ นับถือ ในการทำงานสมัยเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม บางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีอาจารย์พนม สมิตานนท์ กลับมาเป็นเป็นผู้อำนวยการอีกวาระหนึ่งนั้น อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นระยะข้าวยากหมากแพง การเดินทางด้วยพาหนะรถยนต์ยังมีข้อจำกัด อาจารย์พนม สมิตานนท์ เล็งเห็นว่าลูกหลานครูอาจารย์ ข้าราชการและคนงาน จำเป็นต้องได้รับการศึกษา แต่การส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองนั้นยากลำบาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้จะมีโรงเรียนใกล้ๆ เช่น โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ก็เปิดทำการสอนแค่ระดับชั้นประถม ๔ เท่านั้นท่านจึงได้ทำเรื่องขออนุญาตต่อทางจังหวัดเพื่อจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในแม่โจ้ ชื่อ “โรงเรียนเทพศาสตร์” ตามชื่อของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ ผู้วางรากฐานวิชาการและการพัฒนางานเกษตรกรรมของประเทศ โดยอาศัยครูอาจารย์ ที่มีวุฒิ มีความรู้ความสามารถทำการสอน โดยเฉพาะได้อาจารย์บุญมี สมิตานนท์ ภริยาของอาจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนเรยินาเชลีมาก่อน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการบริหารและจัดการโรงเรียนในระยะเริ่มแรก โดยใช้อาคารชั่วคราว เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมูล (อนุบาล) จนถึง ประถม ๔ ในระยะเริ่มแรกนั้น เด็กนักเรียน โรงเรียนเทพศาสตร์ที่จะจบการศึกษาชั้น ป.๔ ได้นั้นจะต้องไปทำการสอบไล่เพื่อรับรองความรู้ของ กระทรวงฯ ที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ซึ่งนักเรียนก็สามารถสอบผ่านมาตรฐานที่กำหนดได้ทุกคน (รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)โรงเรียนเทพศาสตร์ ได้รับความนิยมจากชุมชนในหมู่บ้านแม่โจ้และอื่นๆ ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน นับว่าได้เอื้อประโยชน์และแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครอง นักเรียนอย่างมาก นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาโรงเรียนเทพศาสตร์จะได้ใบประกาศนียบัตรจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (เป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย)ตัวอาคารเรียนนั้น ได้มีการพัฒนาจนครั้งสุดท้าย ได้ใช้อาคาร “เรือนชีวะ” หรือหอชีวะ เป็นโรงเรียนโดยถาวรในระดับมัธยมศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์มีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ คน เช่น-รศ.ดร.มณฑารพ จักกะพาก (นามสกุลเดิม สมิตานนท์) ลูกสาวอาจารย์พนม สมิตานนท์-ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-อาจารย์พัชรินทร์ สุกัณศีล ลูกสาวอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย-คุณขวัญชัย สกุลทอง-คุณบุญล้อม ถวาย-คุณสว่าง กานิล-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-คุณสุชาติ วาทกิจ-อาจารย์กมลา คำสุข-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-อาจารย์ชุมพล รินคำ-คุณบังอร เมฆะเป็นต้น (ยังมีอีกจำนวนหลายร้อยคน รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)นอกจากนี้ยังมีสะใภ้แม่โจ้ ๒๐ เช่น -คุณเมธินี (สมิตานนท์) ณ เชียงใหม่ (ภรรยาคุณอุทัย)-คุณมาลี (บุญเจริญ) พึ่งเจริญ (ภรรยาคุณพีรพัฒน์)ปัจจุบัน มีคุณขวัญชัย สกุลทอง เป็นประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์อาจารย์โรงเรียนเทพศาสตร์มีจำนวนมากที่ระบุ เช่นรศ.ดร.อานนท์ เที่ยงตรงผศ.ทองอินทร์ หินคาผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณดร.สราญ เพิ่มพูลอาจารย์เจียม ดวงสงค์อาจารย์สุริยันต์ บุญยโพธิ์ยังมีอีกมากมาย (รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)การดำเนินกิจการโรงเรียนมาจนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายโอกาสการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น โดยการจัดตั้งโรงเรียนสันทรายวิทยาคม ซึ่งจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งโรงเรียนอยู่ในชุมชนหนองหาร ใกล้ๆ แม่โจ้นี่เอง อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดี ได้พิจารณาเห็นว่าได้มีโรงเรียนประจำอำเภอ สันทรายรองรับลูกหลานของชุมชนแล้วความจำเป็นแต่เดิมก็ลดลง จึงให้งดรับนักเรียน และทยอยปิดกิจการลง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นมาเรียบเรียงจากเอกสาร:-รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)สัมภาษณ์:-ผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณ-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-อาจารย์กมลา คำสุข
15 มกราคม 2567     |      120
อธิการบดี ม.แม่โจ้ เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้
24 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ และหัวหน้างานดนตรีและนันทนาการ นายวิทชัย สุขเพราะนา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว สำหรับการจัดประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เพลงไทยลูกทุ่ง ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ซึ่งการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความสามารถ และทักษะทางด้านการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง โดยมีผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นกำลังใจ และรับชม รับฟังการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งเป็นจำนวนมากผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนี้ผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย”รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวนันทิกานต์ ยองสุวรรณรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศศิกานต์ วงศ์แสนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวภัคจิรา กาปัญญการางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ นายศุภสันต์ สุวรรณนัง และนายนาวี ดวงมณีผลการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้บทเพลงจังหวะรำวง ชื่อเพลง รำวงแม่โจ้ 90 ปี ได้แก่ คุณประเสริฐ ฝักฝ่ายบทเพลงจังหวะลูกทุ่งอเมริกา (Country) ชื่อเพลง เพลง 90 ปีแม่โจ้ ได้แก่ คุณบูรพา กันยาเลิศ
9 มกราคม 2567     |      63
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้มอบรางวัลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยอธิการดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว การจัดประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) ได้รับความสนใจจากชุมชนเข้าร่วมประกวดและจัดการแสดงโชว์มาอย่างอลังการ ได้รับเสียงเชียร์ เสียงปรบมืออย่างต่อเรื่อง สำหรับการประกวด มีเพลงบังคับ เป็นเพลงรำวงแม่โจ้ 90 ปี และเพลงอิสระ ผลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนี้รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมศรีชลธารบ้านน้ำรินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมรวมดาวบ้านดอนปินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมทานตะวัน 58รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ ทีมรำวังบ้านแต ทีมหนองแสะประยุกต์ และนักศึกษาต่างชาติ
25 ธันวาคม 2566     |      87
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบรางวัลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจากปศุสัตว์อำเภอสันทราย นายมงคล สิทธิรักษ์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว ซึ่งการแห่ลูกแก้วเป็นเป็นประเพณีของชาวล้านนา ที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน การแห่ลูกแก้วเป็นการแห่เด็กชาย ซึ่งจะบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนา ส่วนมากอายุไม่เกิน 15 ปี ขบวนจะมีการแห่ลูกแก้วม้าเต้นตามจังหวะปี่กลอง การจัดประกวดครั้งนี้จึงเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ผลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) ดังนี้1. การประกวดม้าแห่ลูกแก้ว รุ่นไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตรรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ม้าเม็ดเงินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ม้าถุงเงินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ จิบเล็กรางวัลชมเชย ได้แก่ ม้าสีหมอก2. การประกวดม้าแห่ลูกแก้ว รุ่น ๑๒๐ เซนติเมตรขึ้นไปรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ม้าแดงพระนครรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ม้าเพชรศรีหมอกรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ม้ามณีแดงรางวัลชมเชย ได้แก่ ม้าหยก3. การประกวดกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ)รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมดอยสะเก็ด Aรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมสารทิศรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมดอยสะเก็ด Bรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีมสเตชั่น
25 ธันวาคม 2566     |      107
ทั้งหมด 81 หน้า