กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division

24 กรกฎาคม 2566 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าเฝ้าฯ รับเสร็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรและทรงซอด้วงร่วมกับนิสิต นักศึกษา ทรงบรรเลงเพลงชื่นชุมนุมกลุ่มดนตรี เพลงโหมโรงไอยเรศ และเพลงกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระราชทานพระราชดำรัสแก่นักดนตรีไทยและผู้ร่วมงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 46 “ศรีวิชยคีตา ปัญญาสมวรรษราชภัฏสุราษฎร์ธานี” มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมงาน จำนวน 64 สถาบัน มีนิสิต นักศึกษา รวมทั้งครูดนตรีไทยเข้าร่วมงาน กว่า 1,300 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ มุ่งส่งเสริม สร้างความตระหนักคุณค่าของดนตรีไทยมรดกวัฒนธรรมชาติที่สืบทอดมาช้านาน ซึ่งในโอกาสนี้ มี ศาสตราจารย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) กล่าวคำกราบบังคมทูล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี

สำหรับงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 46 “ศรีวิชยคีตา ปัญญาสมวรรษราชภัฏสุราษฎร์ธานี” จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2566 เพื่อส่งเสริมให้ นิสิต นักศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะการบรรเลงดนตรีไทย วัฒนธรรมประจำชาติ ตลอดการเปิดโลกทัศน์ เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ อีกทั้ง สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานด้านดนตรีไทย จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศในระดับชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 5 ทศวรรษจากวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี เติบโตเป็นสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยแห่งการบูรณาการ ผสานองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม

เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีพันธกิจสำคัญในการมุ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้คู่คุณธรรม มีสำนึกความเป็นไทย และความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านดนตรีที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วย การบรรเลงดนตรีไทยวงเดี่ยวสถาบันและวงกลุ่มสถาบัน ณ ห้อง Auditorium อาคารทีปังกรรัศมีโชติ ห้องประชุมธรรมโฆษณ์ อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม หอศิลป์ธรรมโฆษณ์ และหอประชุมวชิราลงกรณ ชมการแสดงชุด ศรีวิชยคีตา โดยกลุ่มสถาบันภาคใต้ การแสดงชุด แขกขาวเถา โดยกลุ่มสถาบันภาคกลาง 7 การแสดงชุดจระเข้หางยาวทางสักวา ออกระบำศรีวิชัย โดยกลุ่มสถาบันภาคกลาง 1 การแสดงชุด แขกขาวเถา โดยกลุ่มสถาบันภาคกลาง 4 การแสดงชุดสักวาจีนเก็บบุปผา โดยกลุ่มสถาบันภาคกลาง 3 การแสดงและขบวนอัญเชิญตราสัญลักษณ์งานดนตรีไทยอุดมศึกษา พร้อมพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์ให้กับปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เพื่อส่งมอบตราสัญลักษณ์งานดนตรีไทยอุดมศึกษา แก่ผู้แทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าภาพงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 47 ต่อไป

ปรับปรุงข้อมูล : 3/8/2566 9:45:02     ที่มา : กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 455

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

พิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2568
28 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2568 ร่วมสืบสานประเพณี ปีใหม่เมือง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานอวยพรปีใหม่ โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนกล่าวขอขมาและขอพร จากนั้นคณะผู้บริหาร ผู้แทนแต่คณะ/สำนัก ร่วมประเคนของดำหัวผู้อาวุโส ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิธีดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโสของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการร่วมขอขมา คารวะผู้อาวุโส และเป็นการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา หรือประเพณีปีใหม่ไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คงอยู่สืบไป โดยเวลา 13.00 น. มีการเคลื่อนขบวนแห่เครื่องดำหัวของแต่ละหน่วยงานมาเข้าร่วมพิธี และในปีนี้ได้มีกิจกรรมการประกวดส้มตำลีลา การประกวดลาบเมือง การประกวดนวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นเครื่องดื่มด้วยภูมิปัญญา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมีดังนี้ การประกวดส้มตำลีลา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ การประกวดลาบเมือง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร การประกวดนวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นเครื่องดื่มด้วยภูมิปัญญา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ครื้นเครง สร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม
7 พฤษภาคม 2568     |      160
ร่วมพิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรม
19 เมษายน 2568 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วม "พิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรม" ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ร่วมกิจกรรมในพิธี ดังนี้เวลา 06.00 น. พิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร จำนวน 129 รูปเวลา 07.30 น, พิธีเจริญพระพุทธมนตร์ชัยมงคลเวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงถวายบูรพกษัตริย์เจ้าครองนครเชียงใหม่ตามประเพณีล้านนาโดยจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้จัด พิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี "นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน" เพื่อเป็นการถวายสักการะแด่บูรพกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ตามประเพณีล้านนา ให้ลูกหลานตลอดจนประชาชนได้แสดงออกซึ่งความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กตัญญูกตเวทิตา และร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่เมืองเชียงใหม่จะมีอายุครบ 729 ปี ในวันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก และส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม
21 เมษายน 2568     |      206
ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี 2568
16 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี 2568 เป็นสิริมงคลในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนนานำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการ อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าสระเกล้าดำหัว นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงความเคารพ ขอสุมาคารวะ และขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประจำปี 2568โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดริ้วขบวนแห่ของ 25 อำเภอ และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 30 ขบวน นำเครื่องสระเกล้าดำหัวที่งดงามตามประเพณีแบบล้านนา เคลื่อนขบวนจากประตูท่าแพสู่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เพื่อมารดน้ำขอพรจากผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ยังมีการฟ้อนอวยพรจากคณะช่างฟ้อน และการแสดงของหน่วยงานต่างๆ ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้รับชม ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นและสนุกสนาน
21 เมษายน 2568     |      72