กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
พิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2567
19 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2567 ร่วมสืบสานประเพณี ปีใหม่เมือง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานอวยพรปีใหม่ โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนกล่าวขอขมาและขอพร จากนั้นคณะผู้บริหาร ผู้แทนแต่คณะ/สำนัก ร่วมประเคนของดำหัวผู้อาวุโส ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้พิธีดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโสของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการร่วมขอขมา คารวะผู้อาวุโส และเป็นการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา หรือประเพณีปีใหม่ไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คงอยู่สืบไป โดยในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 08.30 น. นายกสภามหาวิทยาลัย รก.อธิการบดีพร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมพิธีสักการะดำหัว เจ้าแม่โจ้-เจ้าพ่อโจ้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของชาวแม่โจ้เพื่อเป็นการขอขมาและความเป็นสิริมงคลจากนั้น ในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป มีการเคลื่อนขบวนแห่เครื่องดำหัวของแต่ละหน่วยงานมาเข้าร่วมพิธี ซึ่งในปีนี้ได้มีกิจกรรมการประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว ประกวดผู้ถือป้าย ประกวดลาบเมือง และ ประกวดส้มตำลีลา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมีดังนี้การประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว รางวัลชนะเลิศประเภทขบวนขนาดเล็ก ได้แก่ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำการประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว รางวัลชนะเลิศประเภทขบวนขนาดใหญ่ ได้แก่ คณะผลิตกรรมการเกษตรการประกวดลาบ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานมหาวิทยาลัยการประกวดส้มตำลีลา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ครื้นเครง สร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม
22 เมษายน 2567     |      10
ร่วมพิธีสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ผู้ว่าราชการจังหวัด" ประจำปี 2567
16 เมษายน 2567 นางอุไรภัสร์ ชัยเรืองวุฒิ หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทยพร้อมด้วยนายกองค์กการนักศึกษาและนักศึกษา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ผู้ว่าราชการจังหวัด" ประจำปี 2567 โดยมี นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์, นายชัชวาลย์ ปัญญา, นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด และนายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย หน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนชาวเชียงใหม่จาก 25 อำเภอ จัดขบวนแห่เครื่องสระเกล้าดำหัวแบบล้านนา จากบริเวณข่วงประตูท่าแพ ไปยังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยริ้วขบวนมีเครื่องสระเกล้าดำหัวที่งดงามตามประเพณีแบบล้านนา เพื่อขอสุมาคารวะ แสดงความเคารพ และขอพรจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และภริยา เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และเป็นส่วนหนึ่งของงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
22 เมษายน 2567     |      10
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" พื้นที่ภาคเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำอาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรและนักศึกษาร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ครั้งที่ 2 ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน และช่วงบ่ายในเวลา 13.30 น. มี นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานประกอบพิธี โดยมีพระภิกษุ สามเณร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีกว่า 4,000 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ช่วงเช้า ได้มีการจัดริ้วขบวนแห่อัญเชิญเครื่องราชสักการะ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนองค์พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขบวนพระบรมฉายาลักษณ์ ขบวนเครื่องบูชา ขบวนเครื่องสักการะ และการฟ้อนรำถวายจากคณะช่างฟ้อน 500 คน เคลื่อนขบวนเข้าสู่โถงนิทรรศการ ต่อมา นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ในภาคเช้า โดยมีการกล่าวปาฐกถาธรรมพิเศษ จาก พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เรื่อง "สาลิกาป้อนเหยื่อ" พร้อมทั้งมีการแสดงพระธรรมเทศนา จำนวน 2 กัณฑ์ โดย พระมหาภูวนาถ อรุณเมธี และ พระครูสังฆภารวิมล (รัตน์ติพงศ์) มหาคมฺภีรว์โส พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้ร่วมพิธีได้รับฟังพุทธธรรมตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงเจริญวัฒนาสืบไปช่วงบ่าย นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เป็นประธานประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการฟ้อนรำในชุด "อลังการล้านนาแว่นฟ้าเวียงพิงค์" จากนั้นได้มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ การแสดงพระธรรมเทศนา "ปุจฉาวิสัชนา" (เทศน์สองธรรมมาสน์) โดย พระเทพวชิรวาที และ พระครูปลัดธีร์นวัช ญาณสิทฺธาวาที เป็นการเทศน์ที่พระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามและพระรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถาม-ตอบในเรื่องธรรม และเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิธีการเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนาให้แพร่หลายสืบไป และเพื่อให้เกิดความรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ทำนุบำรุงศาสนา และศิลปะวัฒนธรรม
5 เมษายน 2567     |      58
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567
2 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้อำนวยการและหัวหน้างานกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะและร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายเหนือ กงสุลกิตติมศักดิ์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพสกนิกรจังหวัดเชียงใหม่ร่วมพิธี ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
3 เมษายน 2567     |      51
โครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน)
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน) ณ ห้องประชุมนนทรี เก๊าไม้ล้านนา รีสอร์ท อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้ดูแลตัวชี้วัดด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจากคณะฯ สำนักฯ วิทยาลัยฯ กองฯ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆร่วมโครงการ กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ช่วงเช้าได้รายงานผลการดำเนินงาน และรวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากผู้แทนระดับคณะ สำนัก วิทยาลัย กองและผู้แทนนักศึกษา จากนั้นช่วงบ่ายรับฟังข้อเสนอแนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และร่วมกันทบทวน กำกับ และติดตามเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติกานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในครึ่งปีหลังต่อไป
27 มีนาคม 2567     |      129
เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย"
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย" ในหนเหนือ ครั้งที่ 2 เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายนิรัตน์ พงศ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมาย นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการประชุม ณ ห้องประชุม วัดพระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
18 มีนาคม 2567     |      213
คณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ร่วมปลูกต้นจามจุรี
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีปลูกต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นลูกของจามจุรีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกด้วยพระหัตถ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2505 เพื่อระลึกถึงองค์ราชาผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทย ในโอกาสครบรอบวันเกิด 107 ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย โดยคุณพัชรินทร์ สุกัณศีล ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ ลานหน้าศาลเจ้าพ่อแม่โจ้เวลา 10.00 น. ผู้ร่วมพิธีร่วมสักการะศาลเจ้าพ่อแม่โจ้ จากนั้นทายาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย คุณพัชรินทร์ สุกัณศีล และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงที่มาของต้นจามจุรีที่นำมาปลูกที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นผู้แทนมหาวิทยาลัย รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย) กล่าวขอบคุณ?จากนั้นผู้มีเกียรติร่วมปลูกต้นจามจุรี จำนวน 3 ต้น? ต้นที่ 1 ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย ปลูกร่วมกับผู้แทนมหาวิทยาลัยและอุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 2 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 3 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยและผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยต้นจามจุรีทั้ง 3 ต้น ได้รับการประสานงานโดย ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อนำมาปลูกที่แม่โจ้ ในโอกาสที่ทายาทท่าน ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ (ตัวแทนเชิญพระเกี้ยวจุฬา ปี 2515)
18 มีนาคม 2567     |      247
ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก"
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก" ระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยหอการค้าจังกวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสันติ เหล่าพาณิชย์กุล กรรมการนายทะเบียน เป็นผู้แทนในนามประธานกรรมการ ณ พิพิธภัณฑ์เฮือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งนี้ จากการที่ภาคเอกชนและภาคการศึกษาวิชาการของเมือง โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิสืบสานล้านนา นักวิชาการอิสระ และภาคประชาชน ได้มีการบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโครงการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีพิธีลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ “การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่” “Chiang Mai Spirituality Revival” เชื่อมโยงราก (Roots) จากคลังจารึกและเอกสารโบราณ หอจดหมายเหตุของสถาบันการศึกษา มาสู่การคัดสรร (Curate) การเลือกเนื้อหา ทิศทาง แบบแผนประเพณี พิธีกรรม โดย Greater Chiang Mai Culture and Heritage Think Tank Project ไปสู่การสร้างสรรค์ (Create) การนำไปใช้ ต่อยอด สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เข้าถึงได้ ตามความเชี่ยวชาญ โดย ภาคเอกชน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชน งานเทศกาล ท่องเที่ยว และงานบริการของเมือง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทุกคนได้ประโยชน์ และเกิดการตระหนักรู้ เห็นถึงคุณค่า ความหมาย ความสำคัญ ของมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมล้านนาที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นโดยพ่อครูแม่ครู มาสู่คนรุ่นใหม่ในวิถีร่วมสมัยโดยในเดือนธันวาคม 2567 นั้น ทาง กกร. จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดจัดงานเทศกาลฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่ 2567 5 เทศกาล คือ SANKAMPAENG CRAFT REVIVAL FESTIVAL : รอยหัตถกรรมความทรงจำสันกำแพง โดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย ,RIVIVING CHIANG MAI FESTIVAL : ฟื้นใจเวียงเจียงใหม่ โดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,WIANG JED LIN : เมื่อครั้งมีเวียงเจ็ดลิน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,LANNA REVIVAL MUSIC FESTIVAL : ท่วงทำนองล้านนา โดยมหาวิทยาลัยพายัพ, CHIANG MAI AND NOWHERE ELSE FESTIVAL : เพียงเจียงใหม่ โดย GREATER CHIANG MAI
18 มีนาคม 2567     |      167
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่งผู้เชี่ยวชาญเก็บข้อมูลพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการ Creative Lanna Selected Knowledge Centerโดยส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริยากร ปุสวิโร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ภายในพิพิธภัณฑ์ (Discovery museum) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันการเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้พิพิธภัณฑ์ มาแวะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อเก็บข้อมูลเป็นเบื้องต้น เพื่อถอดบทเรียน บ่มเพาะให้ได้มาตรฐาน ในด้านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ เข้ารับการบ่มเพาะโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะเจาะจงในแต่ละด้าน เพื่อมุ่งไปสู่การได้รับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของการจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน ในการนี้มีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและมีนายอนุสรณ์ วิจารณ์ปรีชา นักวิชาการศึกษา ให้ข้อมูลกับคณะผู้มาเยือนดังกล่าว
18 มีนาคม 2567     |      152
ทั้งหมด 81 หน้า