กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" พื้นที่ภาคเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำอาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรและนักศึกษาร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ครั้งที่ 2 ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน และช่วงบ่ายในเวลา 13.30 น. มี นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานประกอบพิธี โดยมีพระภิกษุ สามเณร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีกว่า 4,000 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ช่วงเช้า ได้มีการจัดริ้วขบวนแห่อัญเชิญเครื่องราชสักการะ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนองค์พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขบวนพระบรมฉายาลักษณ์ ขบวนเครื่องบูชา ขบวนเครื่องสักการะ และการฟ้อนรำถวายจากคณะช่างฟ้อน 500 คน เคลื่อนขบวนเข้าสู่โถงนิทรรศการ ต่อมา นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ในภาคเช้า โดยมีการกล่าวปาฐกถาธรรมพิเศษ จาก พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เรื่อง "สาลิกาป้อนเหยื่อ" พร้อมทั้งมีการแสดงพระธรรมเทศนา จำนวน 2 กัณฑ์ โดย พระมหาภูวนาถ อรุณเมธี และ พระครูสังฆภารวิมล (รัตน์ติพงศ์) มหาคมฺภีรว์โส พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้ร่วมพิธีได้รับฟังพุทธธรรมตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงเจริญวัฒนาสืบไปช่วงบ่าย นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เป็นประธานประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการฟ้อนรำในชุด "อลังการล้านนาแว่นฟ้าเวียงพิงค์" จากนั้นได้มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ การแสดงพระธรรมเทศนา "ปุจฉาวิสัชนา" (เทศน์สองธรรมมาสน์) โดย พระเทพวชิรวาที และ พระครูปลัดธีร์นวัช ญาณสิทฺธาวาที เป็นการเทศน์ที่พระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามและพระรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถาม-ตอบในเรื่องธรรม และเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิธีการเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนาให้แพร่หลายสืบไป และเพื่อให้เกิดความรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ทำนุบำรุงศาสนา และศิลปะวัฒนธรรม
5 เมษายน 2567     |      52
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567
2 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้อำนวยการและหัวหน้างานกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะและร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายเหนือ กงสุลกิตติมศักดิ์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพสกนิกรจังหวัดเชียงใหม่ร่วมพิธี ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
3 เมษายน 2567     |      49
โครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน)
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน) ณ ห้องประชุมนนทรี เก๊าไม้ล้านนา รีสอร์ท อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้ดูแลตัวชี้วัดด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจากคณะฯ สำนักฯ วิทยาลัยฯ กองฯ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆร่วมโครงการ กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ช่วงเช้าได้รายงานผลการดำเนินงาน และรวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากผู้แทนระดับคณะ สำนัก วิทยาลัย กองและผู้แทนนักศึกษา จากนั้นช่วงบ่ายรับฟังข้อเสนอแนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และร่วมกันทบทวน กำกับ และติดตามเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติกานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในครึ่งปีหลังต่อไป
27 มีนาคม 2567     |      128
เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย"
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย" ในหนเหนือ ครั้งที่ 2 เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายนิรัตน์ พงศ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมาย นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการประชุม ณ ห้องประชุม วัดพระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
18 มีนาคม 2567     |      204
คณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ร่วมปลูกต้นจามจุรี
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีปลูกต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นลูกของจามจุรีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกด้วยพระหัตถ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2505 เพื่อระลึกถึงองค์ราชาผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทย ในโอกาสครบรอบวันเกิด 107 ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย โดยคุณพัชรินทร์ สุกัณศีล ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ ลานหน้าศาลเจ้าพ่อแม่โจ้เวลา 10.00 น. ผู้ร่วมพิธีร่วมสักการะศาลเจ้าพ่อแม่โจ้ จากนั้นทายาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย คุณพัชรินทร์ สุกัณศีล และคณะตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงที่มาของต้นจามจุรีที่นำมาปลูกที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นผู้แทนมหาวิทยาลัย รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย) กล่าวขอบคุณ?จากนั้นผู้มีเกียรติร่วมปลูกต้นจามจุรี จำนวน 3 ต้น? ต้นที่ 1 ทายาทศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรีวังซ้าย ปลูกร่วมกับผู้แทนมหาวิทยาลัยและอุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 2 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ต้นที่ 3 ตัวแทนศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยและผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยต้นจามจุรีทั้ง 3 ต้น ได้รับการประสานงานโดย ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อนำมาปลูกที่แม่โจ้ ในโอกาสที่ทายาทท่าน ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ (ตัวแทนเชิญพระเกี้ยวจุฬา ปี 2515)
18 มีนาคม 2567     |      245
ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก"
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีไหว้ครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และงานแถลงข่าวโครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล "การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่เพื่อปักหมุดล้านนาในแผนที่โลก" ระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยหอการค้าจังกวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสันติ เหล่าพาณิชย์กุล กรรมการนายทะเบียน เป็นผู้แทนในนามประธานกรรมการ ณ พิพิธภัณฑ์เฮือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งนี้ จากการที่ภาคเอกชนและภาคการศึกษาวิชาการของเมือง โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิสืบสานล้านนา นักวิชาการอิสระ และภาคประชาชน ได้มีการบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโครงการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีพิธีลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาซึ่งจะขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ “การฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่” “Chiang Mai Spirituality Revival” เชื่อมโยงราก (Roots) จากคลังจารึกและเอกสารโบราณ หอจดหมายเหตุของสถาบันการศึกษา มาสู่การคัดสรร (Curate) การเลือกเนื้อหา ทิศทาง แบบแผนประเพณี พิธีกรรม โดย Greater Chiang Mai Culture and Heritage Think Tank Project ไปสู่การสร้างสรรค์ (Create) การนำไปใช้ ต่อยอด สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เข้าถึงได้ ตามความเชี่ยวชาญ โดย ภาคเอกชน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชน งานเทศกาล ท่องเที่ยว และงานบริการของเมือง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทุกคนได้ประโยชน์ และเกิดการตระหนักรู้ เห็นถึงคุณค่า ความหมาย ความสำคัญ ของมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมล้านนาที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นโดยพ่อครูแม่ครู มาสู่คนรุ่นใหม่ในวิถีร่วมสมัยโดยในเดือนธันวาคม 2567 นั้น ทาง กกร. จังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดจัดงานเทศกาลฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่ 2567 5 เทศกาล คือ SANKAMPAENG CRAFT REVIVAL FESTIVAL : รอยหัตถกรรมความทรงจำสันกำแพง โดยหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย ,RIVIVING CHIANG MAI FESTIVAL : ฟื้นใจเวียงเจียงใหม่ โดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,WIANG JED LIN : เมื่อครั้งมีเวียงเจ็ดลิน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,LANNA REVIVAL MUSIC FESTIVAL : ท่วงทำนองล้านนา โดยมหาวิทยาลัยพายัพ, CHIANG MAI AND NOWHERE ELSE FESTIVAL : เพียงเจียงใหม่ โดย GREATER CHIANG MAI
18 มีนาคม 2567     |      166
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่งผู้เชี่ยวชาญเก็บข้อมูลพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการ Creative Lanna Selected Knowledge Centerโดยส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริยากร ปุสวิโร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ภายในพิพิธภัณฑ์ (Discovery museum) นางฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันการเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้พิพิธภัณฑ์ มาแวะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อเก็บข้อมูลเป็นเบื้องต้น เพื่อถอดบทเรียน บ่มเพาะให้ได้มาตรฐาน ในด้านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ เข้ารับการบ่มเพาะโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะเจาะจงในแต่ละด้าน เพื่อมุ่งไปสู่การได้รับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของการจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน ในการนี้มีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและมีนายอนุสรณ์ วิจารณ์ปรีชา นักวิชาการศึกษา ให้ข้อมูลกับคณะผู้มาเยือนดังกล่าว
18 มีนาคม 2567     |      151
ร่วมกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนา เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย สืบสานลายผ้าล้านนา ในงานแม่โจ้บุ๊กแฟร์ 2567
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสำนักหอสมุด จัดกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนา เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย สืบสานลายผ้าล้านนา ในงานแม่โจ้บุ๊กแฟร์ 2567 ณ ห้อง Co-Maker Space สำนักหอสมุด ซึ่งมีบุคลากรกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม Workshop การฉลุลายผ้าล้านนาฯ ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สำหรับการฉลุลายผ้าลานนา เป็นศิลปะการตัดฉลุลวดลายล้านนา บนกระดาษ และผืนผ้า ด้วยปลายกรรไกรที่ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนา วันสำคัญต่างๆ อีกทั้งสามารถทำเป็นอาชีพ หรือสร้างรายได้ด้วยการประยุกต์ลวดลายให้ทันสมัย
4 มีนาคม 2567     |      82
นำนักศึกษาเข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานมหาวิทยาลัย นำโดยนายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพล หัวหน้างานอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม นำนักศึกษาเข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 22 ”ด๊ะดาด ศาสตร์ศิลป์ แผ่นดินสยาม“ เมื่อวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา จ.นครราชสีมา โดยครั้งนี้ ได้นำการแสดงชุด ”ลีลาอภิรมย์ ศิลปะการฟ้อนแม้วประยุกต์“ มาร่วมแสดงโดยได้รับความสนใจจากผู้รับชมเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และเทศบาลนครราชสีมา จัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้เยาวชนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมและตระหนักถึงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาในศิลปะการแสดงในแต่ละท้องถิ่น มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 107 สถาบัน และมีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม รวม 150 ชุดการแสดง
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      87
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมขบวนแห่เจ้าและเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2567
มื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้มอบหมายจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำนักศึกษาเข้าร่วมขบวนแห่เจ้าและเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2567 จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมปุงเก่ากง เชียงใหม่ สำหรับศาลเจ้าปุงเถ่ากงเชียงใหม่ เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และถือเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยอัญเชิญองค์เจ้าปุงเถ่ากง ปุงเถ่าม่า และเทพเจ้าจีนองค์อื่น ๆ แห่รอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่และผู้ที่เคารพนับถือทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด
27 กุมภาพันธ์ 2567     |      79
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย ม.แม่โจ้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Creative Lanna Selected (Knowledge Center)
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Creative Lanna Selected (Knowledge Center) กับศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการนี้ นางอุไรภัสร์ ชัยเรืองวุฒิ หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย และนายอนุสรณ์ วิจารณ์ปรีชา นักวิชาการศึกษา ปฏิบัติการ ได้เข้าร่วมการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ด้วย สำหรับโครงการ Creative Lanna Selected (Knowledge Center) มีวัตุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู่ ศูนย์การเรียนรู้ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 แห่ง ให้ได้การรับรองมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ในระดับชาติ เกิดเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ระดับภาคเหนือตอนบน ในการบริการชุมชนด้านพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อย่างยั่งยืน ต่อยอดให้เกิดคุณค่าและมูลค่าที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการขับเคลื่อนด้าน Support of Art and Heritage และการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงพื้นที่เครือข่ายพิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เข้าร่วมโครงการ
22 กุมภาพันธ์ 2567     |      144
ฝ่ายวงโยธวาทิตและดนตรี ฝ่ายอัญเชิญพระพิรุณ จัดขบวนวัฒนธรรม จัดเตรียมป้ายชื่อ และธงประจำคณะ
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายดำเนินงานฝ่ายวงโยธวาทิตและดนตรี ฝ่ายอัญเชิญพระพิรุณ จัดขบวนวัฒนธรรม จัดเตรียมป้ายชื่อ และธงประจำคณะ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 46 ประจำปีการศึกษา 2565-2566 (ครั้งที่ 46) ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2567 นอกจากนี้กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรมครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้ยินดีกับบัณฑิต “ พี่และน้อง อิ่มท้องรับปริญญา” ปีที่ 3 เพื่อบริการอาหารเช้า ขนม ผลไม้ และน้ำดื่ม ให้กับบัณฑิต ผู้ปกครอง และผู้ติดตาม รวมทั้งจัดแสดงดนตรีของนักศึกษาวง MJ BAND เพื่อบรรเลงสร้างบรรยากาศ และความบันเทิง ภายในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรฯ ในครั้งนี้ด้วย
22 กุมภาพันธ์ 2567     |      83
ร่วมเสวนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประเพณีมหาสงกรานต์เชียงใหม่ ”
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประเพณีมหาสงกรานต์เชียงใหม่ ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จัดโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ คุณค่าสาระ และความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ ที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อันดีงามในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ของจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเป็นการขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์การจัดงานสงกรานต์ ประจำปี 2567 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      143
สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าศึกษาดูงานกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพร้อมด้วยหัวหน้างานและบุคลากร ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่องพร้อมด้วยบุคลากร โดยรับชมวีดีทัศน์แนะนำกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและวีดีทัศน์รายงานผลการดำเนินงานของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จากนั้นได้ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในองค์กร จากนั้นกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้นำคณะศึกษาดูงานขึ้นรถนำเที่ยวชมเส้นทางท่องเที่ยวสายตำนานวัฒนธรรมแม่โจ้ โดยนำเยี่ยมชมห้องฝึกซ้อมวงดนตรีแม่โจ้แบนด์ อาคารพุทธมิ่งมงคล ห้องฝึกซ้อมดนตรีไทยและนาฏศิลป์ อาคารเรือนชีวะ พิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย ศาลเจ้าพ่อโจ้ สระเกษตรสนาน และถ่ายภาพร่วมกัน ณ อาคารเรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี
1 กุมภาพันธ์ 2567     |      176
ถวายมุทิตาสักการะ พิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ 51 ปี 31 พรรษา"พระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์"
วันที่ 9 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย อาจารย์มาลี ล้วนแก้ว คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อาจารย์บุคลากร น้อมกราบถวายมุทิตาสักการะ ในพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ 51 ปี 31 พรรษา"พระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์" รองเจ้าคณะอำเภอแม่ริม เจ้าอาวาสวัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาลศักดิ์สิทธิ์) และประธานมูลนิธิ 1016 เพื่อการกุศลและร่วมทำบุญหล่อพระพุทธมงคลเศรษฐี บารมีค้ำฟ้า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่วันที่ 10 มกราคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำนักศึกษาเข้ารับมอบข้าวสารอาหารแห้ง ในพิธีมอบข้าวสารอาหารแห้งแก่นิสิตนักศึกษาในเขตอำเภอแม่ริม จำนวน 2,000 คน และมอบทุนการศึกษาแก่สถานศึกษา จำนวน 22 สถานศึกษา สถานศึกษาละ 10,000 บาท ณ วัดลัฏฐิวัน(พระนอนขอนตาลศักดิ์สิทธิ์) ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
15 มกราคม 2567     |      338
พิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์และพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ ประจำปี 2567 พร้อมกันนี้ได้จัดพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์ในโอกาสปรับปรุงอาคารใหม่ โดยมี ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์และนักศึกษาปัจจุบันร่วมพิธี โดยเวลา 09.09 น.พระสงฆ์ 5 รูปสวดเจริญพุทธมนต์และเทศนาจำนวน 1 กัณฑ์จากนั้นเวลา 11.29 น ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นประธานพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีอาจารย์อาทิตย์ วงศ์สว่าง เป็นเจ้าพิธีพร้อมด้วยอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาร่วมในพิธี ณ เรือนชีวะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่โรงเรียนเทพศาสตร์หรือเรือนชีวะในปัจจุบัน เป็นอนุสรณ์สำคัญสิ่งหนึ่งในแม่โจ้ ที่อาจารย์พนม สมิตานนท์สร้างไว้ คือ โรงเรียน เพื่อให้ลูกหลานของครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงาน และบุคคลทั่วไป ได้มีสถานที่เล่าเรียน (น่าจะเป็นต้นแบบของโรงเรียนสาธิตต่างๆ ในปัจจุบัน) คือ โรงเรียน “เทพศาสตร์” เพื่อรำลึกถึง “พระยาเทพศาสตร์สถิตย์” ที่พระช่วงเกษตรศิลปการ ศรัทธา เคารพ นับถือ ในการทำงานสมัยเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม บางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีอาจารย์พนม สมิตานนท์ กลับมาเป็นเป็นผู้อำนวยการอีกวาระหนึ่งนั้น อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นระยะข้าวยากหมากแพง การเดินทางด้วยพาหนะรถยนต์ยังมีข้อจำกัด อาจารย์พนม สมิตานนท์ เล็งเห็นว่าลูกหลานครูอาจารย์ ข้าราชการและคนงาน จำเป็นต้องได้รับการศึกษา แต่การส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองนั้นยากลำบาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้จะมีโรงเรียนใกล้ๆ เช่น โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ก็เปิดทำการสอนแค่ระดับชั้นประถม ๔ เท่านั้นท่านจึงได้ทำเรื่องขออนุญาตต่อทางจังหวัดเพื่อจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในแม่โจ้ ชื่อ “โรงเรียนเทพศาสตร์” ตามชื่อของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ ผู้วางรากฐานวิชาการและการพัฒนางานเกษตรกรรมของประเทศ โดยอาศัยครูอาจารย์ ที่มีวุฒิ มีความรู้ความสามารถทำการสอน โดยเฉพาะได้อาจารย์บุญมี สมิตานนท์ ภริยาของอาจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนเรยินาเชลีมาก่อน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการบริหารและจัดการโรงเรียนในระยะเริ่มแรก โดยใช้อาคารชั่วคราว เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมูล (อนุบาล) จนถึง ประถม ๔ ในระยะเริ่มแรกนั้น เด็กนักเรียน โรงเรียนเทพศาสตร์ที่จะจบการศึกษาชั้น ป.๔ ได้นั้นจะต้องไปทำการสอบไล่เพื่อรับรองความรู้ของ กระทรวงฯ ที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ซึ่งนักเรียนก็สามารถสอบผ่านมาตรฐานที่กำหนดได้ทุกคน (รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)โรงเรียนเทพศาสตร์ ได้รับความนิยมจากชุมชนในหมู่บ้านแม่โจ้และอื่นๆ ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน นับว่าได้เอื้อประโยชน์และแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครอง นักเรียนอย่างมาก นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาโรงเรียนเทพศาสตร์จะได้ใบประกาศนียบัตรจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (เป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย)ตัวอาคารเรียนนั้น ได้มีการพัฒนาจนครั้งสุดท้าย ได้ใช้อาคาร “เรือนชีวะ” หรือหอชีวะ เป็นโรงเรียนโดยถาวรในระดับมัธยมศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์มีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ คน เช่น-รศ.ดร.มณฑารพ จักกะพาก (นามสกุลเดิม สมิตานนท์) ลูกสาวอาจารย์พนม สมิตานนท์-ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-อาจารย์พัชรินทร์ สุกัณศีล ลูกสาวอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย-คุณขวัญชัย สกุลทอง-คุณบุญล้อม ถวาย-คุณสว่าง กานิล-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-คุณสุชาติ วาทกิจ-อาจารย์กมลา คำสุข-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-อาจารย์ชุมพล รินคำ-คุณบังอร เมฆะเป็นต้น (ยังมีอีกจำนวนหลายร้อยคน รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)นอกจากนี้ยังมีสะใภ้แม่โจ้ ๒๐ เช่น -คุณเมธินี (สมิตานนท์) ณ เชียงใหม่ (ภรรยาคุณอุทัย)-คุณมาลี (บุญเจริญ) พึ่งเจริญ (ภรรยาคุณพีรพัฒน์)ปัจจุบัน มีคุณขวัญชัย สกุลทอง เป็นประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์อาจารย์โรงเรียนเทพศาสตร์มีจำนวนมากที่ระบุ เช่นรศ.ดร.อานนท์ เที่ยงตรงผศ.ทองอินทร์ หินคาผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณดร.สราญ เพิ่มพูลอาจารย์เจียม ดวงสงค์อาจารย์สุริยันต์ บุญยโพธิ์ยังมีอีกมากมาย (รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)การดำเนินกิจการโรงเรียนมาจนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายโอกาสการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น โดยการจัดตั้งโรงเรียนสันทรายวิทยาคม ซึ่งจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งโรงเรียนอยู่ในชุมชนหนองหาร ใกล้ๆ แม่โจ้นี่เอง อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดี ได้พิจารณาเห็นว่าได้มีโรงเรียนประจำอำเภอ สันทรายรองรับลูกหลานของชุมชนแล้วความจำเป็นแต่เดิมก็ลดลง จึงให้งดรับนักเรียน และทยอยปิดกิจการลง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นมาเรียบเรียงจากเอกสาร:-รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)สัมภาษณ์:-ผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณ-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-อาจารย์กมลา คำสุข
15 มกราคม 2567     |      120
อธิการบดี ม.แม่โจ้ เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้
24 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ และหัวหน้างานดนตรีและนันทนาการ นายวิทชัย สุขเพราะนา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว สำหรับการจัดประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เพลงไทยลูกทุ่ง ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ซึ่งการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความสามารถ และทักษะทางด้านการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง โดยมีผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นกำลังใจ และรับชม รับฟังการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งเป็นจำนวนมากผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนี้ผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย”รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวนันทิกานต์ ยองสุวรรณรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศศิกานต์ วงศ์แสนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวภัคจิรา กาปัญญการางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ นายศุภสันต์ สุวรรณนัง และนายนาวี ดวงมณีผลการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้บทเพลงจังหวะรำวง ชื่อเพลง รำวงแม่โจ้ 90 ปี ได้แก่ คุณประเสริฐ ฝักฝ่ายบทเพลงจังหวะลูกทุ่งอเมริกา (Country) ชื่อเพลง เพลง 90 ปีแม่โจ้ ได้แก่ คุณบูรพา กันยาเลิศ
9 มกราคม 2567     |      63
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้มอบรางวัลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยอธิการดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาพร ขันธบุตร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว การจัดประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) ได้รับความสนใจจากชุมชนเข้าร่วมประกวดและจัดการแสดงโชว์มาอย่างอลังการ ได้รับเสียงเชียร์ เสียงปรบมืออย่างต่อเรื่อง สำหรับการประกวด มีเพลงบังคับ เป็นเพลงรำวงแม่โจ้ 90 ปี และเพลงอิสระ ผลการประกวดรำวงย้อนยุค (รำวงพื้นบ้าน) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนี้รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมศรีชลธารบ้านน้ำรินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมรวมดาวบ้านดอนปินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมทานตะวัน 58รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ ทีมรำวังบ้านแต ทีมหนองแสะประยุกต์ และนักศึกษาต่างชาติ
25 ธันวาคม 2566     |      87
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบรางวัลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจากปศุสัตว์อำเภอสันทราย นายมงคล สิทธิรักษ์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว ซึ่งการแห่ลูกแก้วเป็นเป็นประเพณีของชาวล้านนา ที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน การแห่ลูกแก้วเป็นการแห่เด็กชาย ซึ่งจะบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนา ส่วนมากอายุไม่เกิน 15 ปี ขบวนจะมีการแห่ลูกแก้วม้าเต้นตามจังหวะปี่กลอง การจัดประกวดครั้งนี้จึงเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ผลการประกวดม้าแห่ลูกแก้วและกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ) ดังนี้1. การประกวดม้าแห่ลูกแก้ว รุ่นไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตรรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ม้าเม็ดเงินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ม้าถุงเงินรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ จิบเล็กรางวัลชมเชย ได้แก่ ม้าสีหมอก2. การประกวดม้าแห่ลูกแก้ว รุ่น ๑๒๐ เซนติเมตรขึ้นไปรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ม้าแดงพระนครรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ม้าเพชรศรีหมอกรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ม้ามณีแดงรางวัลชมเชย ได้แก่ ม้าหยก3. การประกวดกลองแห่พื้นเมือง (ก๋องโต้มๆ)รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมดอยสะเก็ด Aรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมสารทิศรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมดอยสะเก็ด Bรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีมสเตชั่น
25 ธันวาคม 2566     |      107
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ และหัวหน้างานในกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ โดยมีนายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภอสันทราย เป็นประธานในพิธีฯ มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทุกหมู่เหล่าในเขตอำเภอสันทราย เข้าร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณกันอย่างพร้อมเพรียง ณ หอประชุมอำเภอสันทราย
6 ธันวาคม 2566     |      153
โครงการสืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงวิถีเกษตร วิถีแม่โจ้ ประจำปี 2566 “ สืบฮีต สานฮอย แอ่ว กอย กิ๋น เล่น ”
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ : สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงวิถีเกษตร วิถีแม่โจ้ ประจำปี 2566 “ สืบฮีต สานฮอย แอ่ว กอย กิ๋น เล่น ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน และมีรองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง) รองคณบดี จากคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และผู้อำนวยการกองกลาง ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว สำหรับโครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ : สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงวิถีเกษตร วิถีแม่โจ้ ประจำปี 2566 “ สืบฮีต สานฮอย แอ่ว กอย กิ๋น เล่น ” กำหนดจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน 2566 ณ บริเวณสวนป่าบุญศรีเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการ ด้านสังคม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามที่หลักสูตรกำหนด และเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์กิจกรรมวันสองนี้ มีการมอบรางวัลการประกวดกระทงเล็ก ประเภทสวยงามจากวัสดุธรรมชาติ และประดิษฐ์สร้างสรรค์ การแสดงซอพื้นเมืองล้านนา โดยศูนย์การเรียนรู้ซอพื้นบ้านล้านนาครูมะลิวัลย์ การประกวดเทพียี่เป็งแม่โจ้ ประจำปี 2566 และการมอบรางวัลผู้เข้าร่วมงานแต่งกายโดดเด่นชุดพื้นเมืองล้านนา ประเภทแม่ญิ๋งล้านนา แม่ญิ๋งจำแลงล้านนา และป้อจายล้านนา รวมทั้งตลอดงานร่วมสนุกกับซุ้มการละเล่นพื้นบ้าน กิจกรรมฐานเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม เปิดประสบการณ์ใหม่กับชนสถาฯ พาดูผี : ชมหนังกลางแปลงบรรยากาศย้อนยุค อิ่มอร่อยกับอาหารกาดมั่วคัวฮอม
29 พฤศจิกายน 2566     |      95
โครงการสืบฮีตสานฮอยป๋าเวณีเดือนยี่ 2566
21 พฤศจิกายน 2566 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดโครงการสืบฮีตสานฮอยป๋าเวณีเดือนยี่ 2566 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการ ภายในงานมีกิจกรรมฐานเรียนรู้หัตถกรรมล้านนา กาดมั่วครัวฮอม จากสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆ การฉายหนังกลางแปลง การแสดงดนตรีพื้นเมือง จากนักศึกษาชมรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การแสดงพิธีเปิดชุด "ฟ้อนเล็บมรดกล้านนา" จากกลุ่มสตรีแม่บ้านชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 90 คน 12 ชุมชน การแสดง จากนักศึกษาชมรมชาวไทยภูเขา การแสดงวงโปงลางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการแสดงดนตรีวงแม่โจ้แบนด์ จัดขึ้น ณ อาคารเรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
24 พฤศจิกายน 2566     |      124
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐิน ประจำปี 2566 ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์
11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 19.23 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานถวายผ้าพระกฐิน ประจำปี 2566 ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา และสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ โรงครัว ค่าน้ำ ค่าไฟ และบำรุงวัด โดยมี นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้แทนศาล ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัด ส่วนราชการ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ และรับประทานของที่ระลึกจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปกรรมท้องถิ่นแบบล้านนา โดยเมื่อครั้งที่ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความทรุดโทรมของวัดและฝาผนังวิหาร จึงมีพระดำริที่จะบูรณะให้ดีขึ้น ด้วยการตั้งพระทัยว่า ขอนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติพระกรณียกิจเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้รุ่งเรือง โดยทรงดำเนินงานวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “ พระมหาชนก ” และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เป็นพระประธานในวิหารนอกจากนี้ภายในวัดยังมีบ่อน้ำทิพย์ ที่พระครูวรเวทย์วิสิฐ (หลวงปู่ครูบาธรรมชัย ธมมฺชโย) เดินธุดงค์มาพบและดำเนินการก่อตั้งวัดเมื่อปี 2551 โดยชาวบ้านเชื่อว่าบ่อน้ำทิพย์นี้เป็นที่อยู่ของอุชุนาคราช และเป็นบ่อน้ำที่มีน้ำซับในดินไหลออกมาไม่ขาดเป็นที่พักดื่มน้ำของคนสัญจรไปมาชาวบ้านไม่สบายเจ็บป่วยได้มาอธิษฐานและดื่มน้ำจากบ่อน้ำทิพย์แล้วมีอาการดีขึ้นหรือหายจากโรคภัย อีกทั้งยังได้พัฒนาสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร
15 พฤศจิกายน 2566     |      174
ดร.องอาจ กิตติคุณชัย สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคให้ "ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้"
ดร.องอาจ กิตติคุณชัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค ได้แก่ ข้าวสารหอมมะลิ อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส และอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดครัว มูลค่า 10,000 บาท ให้กับโครงการ"ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้" โดย ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการ"ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้" ซึ่งเป็นโครงการประกอบอาหารเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ประสบปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ และเป็นการสานสัมพันธ์อันดี เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัย
18 มกราคม 2567     |      159
พิธีมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการส่งผลงานร่วมประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการส่งผลงานร่วมประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้นที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีมอบรางวัลและมีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ดังนี้การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”1. นางสาววชิรญาณ์ กัณฑ์ไตรบัญชร2. นายศรัทธา บุญชัยศรี3. นายศิวกร กุลธิ4. นางสาวสถิตาพร จันทร์งาม5. นายสหรัฐ ทัศนาลัยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”1. นางสาวภูษนิศา ศศินโชติพัส2. นายปรมินทร์ ทุกอย่าง3. นางสาวรัชนก อาริยะ4. นายภานุพงศ์ มณีโชติ5. นางสาวพิมพ์ลภัส สมหนองอ้อ6. นายกรภัทร อินยศ7. นายสุริยกานต์ ณ ป้อมเพชร8. นางสาวเมธินี สุขเกษมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”1. นายก้องภพ แจ่มศรี2. นายณัฐนันท์ เมฆสองสี3. นายรัชชานนท์ ส่งสม4. นายรัชภูมิ ฮายาชิ5. นายรุจนโรจน์ อาวาส6. นางสาวศกุนิชญ์ ขัติยา7. นางสาวศิริวรรณ เครือกลัดทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”1. นางสาวพิมพาภรณ์ ภูคำ2. นายดนัสวิน ชูจรินทร์3. นางสาวรุ่งรวิน สร้อยคำ4. นายสหภพ กันทะอุโมงค์5. นางสาวนิชาภา วงศ์ใหญ่การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”1. นายกฏจีรภัทร ยาสุวรรณ2. นายกฤตนัย ทองหยิบ3. นางสาวชนากานต์ เสือลอย4. นายโชคชัย ลุงสาม5. นางสาวณภัสสรณ์ อิ่นเเก้ว6. นางสาวณัฎฐ์นรี บุญเสงี่ยมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”1. นางสาวจันจิรา บุญโกศล2. นายชวกร คักกันหา3. นายฐานพัฒน์ พรมเอื้อย4. นางสาวณฐภัค มานารัตน์5. นายณัฐพล ไชยลังกา6. นายณัฐวรรต อาภา7. นายทินวุฒิ ใจลึกรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”1. นางสาวจุฑามณี สุทธิบุตร2. นายสิรภพ สาระไชย3. นางสาวรุจิรา พรมจาด4. นางสาวสุภัคชา ทุมมาโต5. นายสุธินันท์ วงค์สุ6. นางสาวอภิชญา ศรีปัญโญ7. นายอภิสิทธิ์ ทองสมบัติ8. นายอัครพนธ์ แสงเหล็กการประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์3. นางสาววิชญดา อินทะวัง4. นายอิทธิพล รอดบุตร5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์6. นายญาณวิทย์ นิมสนธิรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”1. นายจักรพันธ์ เนินลาด2. นายโชติบัณฑ์ ดีมานพ3. นายธนบดี สมโลก4. นายธวัชชัย ใจปวง5. นายนพรัตน์ วงศ์เสนา6. นายปรเมศ ชิณวงค์รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”1. นางสาวอรทัย กันทะสอน2. นางสาวกมลพรรณ โตเจริญ3. นางสาวอิสรีย์ มาตย์บัญดิษฐ์4. นายสิรวิชญ์ อาทิตย์5. นายจิตบูรพา คำมา
26 ตุลาคม 2566     |      146
ประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัดโครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ : สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงวิถีเกษตร วิถีแม่โจ้ ประจำปี 2566
25 ตุลาคม 2566 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัดโครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ : สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงวิถีเกษตร วิถีแม่โจ้ ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมศิขรินทร์ อาคารอำนวย ยศสุข โดยมีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานที่ประชุม และได้เชิญผู้แทนจากคณะต่างๆร่วมประชุม ที่ประชุมได้หารือรูปแบบการจัดงาน วัน เวลา สถานที่จัดงาน โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ไม่ได้ส่งรถกระทงใหญ่และขบวนร่วมงานประเพณีลอยกระทงเทศบาลนครเชียงใหม่และได้จัดโครงการภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาทุกคณะได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันในเทศกาลลอยกระทง
26 ตุลาคม 2566     |      174
ประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการจัดโครงการกฐินสามัคคีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ประจำปี 2566
20 ตุลาคม 2566 รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการจัดโครงการกฐินสามัคคีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ประจำปี 2566 โดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยเชิญรองอธิการบดีพร้อมด้วยผู้แทนจากคณะฯ สำนักฯ ร่วมหารือรูปแบบการจัดงานและรายงานความก้าวหน้าให้แก่ที่ประชุม โดยจะถวาย ณ วัดป่าแดด ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.29 น.
26 ตุลาคม 2566     |      121
บูรณาการฐานเรียนรู้ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บูรณาการร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์จัดวิทยากรบรรยายประเพณี 12 เดือนล้านนาและฐานเรียนรู้อาหารพื้นเมืองจำนวน 2 ฐาน ได้แก่ ฐานน้ำพริกหนุ่มและฐานไข่ป่าม ในโครงการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับรายวิชาโภชนศาสตร์และบริการวิชาการเกษตรอินทรีย์วิถีล้านนาและการบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพ สืบสานอาหารพื้นบ้านในประเพณี 12 เดือน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ จัดโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
25 ตุลาคม 2566     |      291
ร่วมโครงการธรรมะสัญจร "รถด่วนขบวนพิเศษ" ในฤดูกาลเข้าพรรษา ครั้งที่ 4 ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม หัวหน้างาน และนักศึกษา ร่วมโครงการธรรมะสัญจร "รถด่วนขบวนพิเศษ" ในฤดูกาลเข้าพรรษา ครั้งที่ 4 ประจำปี 2566 จัดขึ้นโดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่,สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่,พุทธสมาคมจังหวัดเชียงใหม่,ยุวพุทธิกสามคมจังหวัดเชียงใหม่,ชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่และ ทส.ปช.อ.เมืองเชียงใหม่โดยในงานได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณพระเทพมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและมีพระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์ หรือ “พระอาจารย์ขาว” เจ้าอาวาสวัดลัฏฐิวัน รองเจ้าคณะอำเภอแม่ริม กล่าวต้อนรับ ณ วัดลัฎฐิวัน (พระนอนขอนตาล) ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
9 ตุลาคม 2566     |      458
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา
     เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 65 พรรษา โดยช่วงเช้าได้มีกิจกรรมทางศาสนาโดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีและตักบาตรพระสงฆ์ 66 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นได้มีกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 1,000 ต้น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีเป็นประธานปล่อยกล้วยไม้ ดำเนินการโดยโครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะผลิตกรรมการเกษตร ณ ถนนเส้นกลางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นได้มีการปล่อยปลานิลจำนวน 1,000 ตัว โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประธานปล่อยปลา ณ สระน้ำหน้าอาคารพุทธมิ่งมงคล ดำเนินการโดย คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับศูนย์วิจัยและประมงน้ำจืด เชียงใหม่ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มาเป็นประธานสร้างและเปิดฝายมีชีวิต จำนวน 2 ฝาย ณ ลำห้วยโจ้ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฝายทั้ง 2 ฝายได้ขึ้นทะเบียนฝายมีชีวิตแห่งประเทศไทย ในลำดับที่ 499 โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้วยโจ้ 1 และห้วยโจ้ 2 และยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยการสร้างฝายมีชีวิตนี้เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำในหมาวิทยาลัยให้สมบูรณ์ มีแหล่งน้ำไว้ใช้สอยและเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำ     การจัดทำฝายมีชีวิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้นี้ ได้รับการประสานงานและความร่วมมือร่วมใจจากศิษย์เก่าแม่โจ้ คณะกรรมการครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้ โดยมีประธาณคณะทำงานคือ พลตรีชูโชติ กีฬาแปง แม่โจ้รุ่น 46 คุณวรายุทธ อ่อนศรี แม่โจ้รุ่น 50 คุณวสันต์ สันพะเยาว์ แม่โจ้รุ่น 53 และครูฝายจากเครือข่ายฝายมีชีวิตแห่งประเทศไทย คือ คุณยงยุทธ ถาวร คุณสมใจ รักษ์เสรี คุณสุรศักดิ์ อินทรศรี คุณนพพร วงศ์โรจนัส คุณบุญเท่ง โกสินทร์ และคุณไพโรจน์ ภูดี โดยการสร้างฝายมีชีวิตได้เริ่มดำเนินการสร้างมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นมา ซึ่งได่รับการสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้หลายสาขาวิชาที่ว่างเว้นจากการเรียนมาร่วมมือร่วมใจกันสร้างฝายมีชีวิต
4 ตุลาคม 2566     |      533