กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการส่งผลงานร่วมประกวดคลิป VDO สร้างสรรค์สื่อศิลปวัฒนธรรม ณ ห้องสตูดิโอโทรทัศน์ ชั้นที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีมอบรางวัลและมีนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ดังนี้
การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “วิถีชีวิต ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น”
รางวัลชนะเลิศ ทีม ซมปก ม. “ลุงติ๊บช่างตีเหล็กสู้ชีวิต”
1. นางสาววชิรญาณ์ กัณฑ์ไตรบัญชร
2. นายศรัทธา บุญชัยศรี
3. นายศิวกร กุลธิ
4. นางสาวสถิตาพร จันทร์งาม
5. นายสหรัฐ ทัศนาลัย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม One night miracles “หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง”
1. นางสาวภูษนิศา ศศินโชติพัส
2. นายปรมินทร์ ทุกอย่าง
3. นางสาวรัชนก อาริยะ
4. นายภานุพงศ์ มณีโชติ
5. นางสาวพิมพ์ลภัส สมหนองอ้อ
6. นายกรภัทร อินยศ
7. นายสุริยกานต์ ณ ป้อมเพชร
8. นางสาวเมธินี สุขเกษม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)
ทีมชเวดากอง “จากขี้ช้างสู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น”
1. นายก้องภพ แจ่มศรี
2. นายณัฐนันท์ เมฆสองสี
3. นายรัชชานนท์ ส่งสม
4. นายรัชภูมิ ฮายาชิ
5. นายรุจนโรจน์ อาวาส
6. นางสาวศกุนิชญ์ ขัติยา
7. นางสาวศิริวรรณ เครือกลัด
ทีม 5 สหายมะเขือเปราะ “ป่าบงชุมชนจักสาน”
1. นางสาวพิมพาภรณ์ ภูคำ
2. นายดนัสวิน ชูจรินทร์
3. นางสาวรุ่งรวิน สร้อยคำ
4. นายสหภพ กันทะอุโมงค์
5. นางสาวนิชาภา วงศ์ใหญ่
การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”
รางวัลชนะเลิศ ทีมพี่กะเทยโปรดักส์ชั่น “โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา”
1. นายกฏจีรภัทร ยาสุวรรณ
2. นายกฤตนัย ทองหยิบ
3. นางสาวชนากานต์ เสือลอย
4. นายโชคชัย ลุงสาม
5. นางสาวณภัสสรณ์ อิ่นเเก้ว
6. นางสาวณัฎฐ์นรี บุญเสงี่ยม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โปรดักชั่นคืออะไร “ลมหายใจกลองสะบัดชัย”
1. นางสาวจันจิรา บุญโกศล
2. นายชวกร คักกันหา
3. นายฐานพัฒน์ พรมเอื้อย
4. นางสาวณฐภัค มานารัตน์
5. นายณัฐพล ไชยลังกา
6. นายณัฐวรรต อาภา
7. นายทินวุฒิ ใจลึก
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Thelastone “พ่อครูอินตากับการสืบตำนานขับขานปี่ - ซอ”
1. นางสาวจุฑามณี สุทธิบุตร
2. นายสิรภพ สาระไชย
3. นางสาวรุจิรา พรมจาด
4. นางสาวสุภัคชา ทุมมาโต
5. นายสุธินันท์ วงค์สุ
6. นางสาวอภิชญา ศรีปัญโญ
7. นายอภิสิทธิ์ ทองสมบัติ
8. นายอัครพนธ์ แสงเหล็ก
การประกวดคลิป VDO หัวข้อ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีและวัฒนธรรม”
รางวัลชนะเลิศ ทีมลูกแม่ตุ๊ก “สลากย้อมแห่งเมืองหละปูนประเพณีหนึ่งเดียวในโลก”
1. นายจิราวัฒน์ โพธิ์นา
2. นางสาววราภรณ์ เวชรัตน์
3. นางสาววิชญดา อินทะวัง
4. นายอิทธิพล รอดบุตร
5. นายเอกลักษณ์ กันทะวงค์
6. นายญาณวิทย์ นิมสนธิ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมอามาตะคันฟิลม์ “พิธีกรรมพุทธาภิเษกล้านนา”
1. นายจักรพันธ์ เนินลาด
2. นายโชติบัณฑ์ ดีมานพ
3. นายธนบดี สมโลก
4. นายธวัชชัย ใจปวง
5. นายนพรัตน์ วงศ์เสนา
6. นายปรเมศ ชิณวงค์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมแมวเป้ากรุ๊ป “สักยันต์ล้านนา”
1. นางสาวอรทัย กันทะสอน
2. นางสาวกมลพรรณ โตเจริญ
3. นางสาวอิสรีย์ มาตย์บัญดิษฐ์
4. นายสิรวิชญ์ อาทิตย์
5. นายจิตบูรพา คำมา
ปรับปรุงข้อมูล : 26/10/2566 9:47:56     ที่มา : กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 429

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

พิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2568
28 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2568 ร่วมสืบสานประเพณี ปีใหม่เมือง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานอวยพรปีใหม่ โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนกล่าวขอขมาและขอพร จากนั้นคณะผู้บริหาร ผู้แทนแต่คณะ/สำนัก ร่วมประเคนของดำหัวผู้อาวุโส ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิธีดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโสของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการร่วมขอขมา คารวะผู้อาวุโส และเป็นการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา หรือประเพณีปีใหม่ไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คงอยู่สืบไป โดยเวลา 13.00 น. มีการเคลื่อนขบวนแห่เครื่องดำหัวของแต่ละหน่วยงานมาเข้าร่วมพิธี และในปีนี้ได้มีกิจกรรมการประกวดส้มตำลีลา การประกวดลาบเมือง การประกวดนวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นเครื่องดื่มด้วยภูมิปัญญา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมีดังนี้ การประกวดส้มตำลีลา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ การประกวดลาบเมือง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร การประกวดนวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นเครื่องดื่มด้วยภูมิปัญญา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ครื้นเครง สร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม
7 พฤษภาคม 2568     |      160
ร่วมพิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรม
19 เมษายน 2568 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วม "พิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรม" ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ร่วมกิจกรรมในพิธี ดังนี้เวลา 06.00 น. พิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร จำนวน 129 รูปเวลา 07.30 น, พิธีเจริญพระพุทธมนตร์ชัยมงคลเวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงถวายบูรพกษัตริย์เจ้าครองนครเชียงใหม่ตามประเพณีล้านนาโดยจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้จัด พิธีทำบุญสมโภชน์เชียงใหม่ 729 ปี "นครเชียงใหม่ เมืองแห่งความสุขวิถีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน" เพื่อเป็นการถวายสักการะแด่บูรพกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ตามประเพณีล้านนา ให้ลูกหลานตลอดจนประชาชนได้แสดงออกซึ่งความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กตัญญูกตเวทิตา และร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่เมืองเชียงใหม่จะมีอายุครบ 729 ปี ในวันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการขึ้นทะเบียนจังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก และส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม
21 เมษายน 2568     |      206
ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี 2568
16 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี 2568 เป็นสิริมงคลในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนนานำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการ อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าสระเกล้าดำหัว นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงความเคารพ ขอสุมาคารวะ และขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประจำปี 2568โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดริ้วขบวนแห่ของ 25 อำเภอ และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 30 ขบวน นำเครื่องสระเกล้าดำหัวที่งดงามตามประเพณีแบบล้านนา เคลื่อนขบวนจากประตูท่าแพสู่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เพื่อมารดน้ำขอพรจากผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ยังมีการฟ้อนอวยพรจากคณะช่างฟ้อน และการแสดงของหน่วยงานต่างๆ ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้รับชม ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นและสนุกสนาน
21 เมษายน 2568     |      72