กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
15 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองเทคโนโลยีดิจิทัล องค์การนักศึกษา สภานักศึกษาและสโมสรนักศึกษาคณะ,วิทยาลัย จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2567 ให้นักศึกษาได้แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู บูรพาจารย์ ผู้ประสิทประสาทวิชา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี
ทั้งนี้มีพิธีระลึกถึงปูชนียบุคคลสำคัญของแม่โจ้ โดยการวางพานดอกไม้ ธูป เทียน คารวะ อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ ผู้ก่อตั้ง/อาจารย์ใหญ่คนแรก และศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก
โอกาสเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการดีเด่น อาจารย์ดีเด่น และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้
.
ข้าราชการดีเด่น ประจำปี 2566 ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินุช ชุลิกาวิทย์ สังกัด คณะบริหารธุรกิจ
.
อาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2566
• อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศี สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
• อาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร ชูชื่น สังกัด คณะบริหารธุรกิจ
• อาจารย์ดีเด่นด้านบริการวิชาการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง สังกัด คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
• อาจารย์ดีเด่นด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์ นาระทะ สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร
.
บุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น ประจำปี 2566
• บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านบริการดีเด่น ได้แก่ นางเยาวภา เขื่อนคํา สังกัด สำนักหอสมุด
• บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านวิชาชีพดีเด่น ได้แก่ นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ สังกัด สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
• บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ด้านนวัตกรรมดีเด่น ได้แก่ นางสาวช่อทิพย์ สิทธิ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์
• บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดีเด่น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้มีผลงานดีเด่น ได้แก่ นายนันทวัฒน์ รักษ์เผ่าสุวรรณ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์
พร้อมทั้งมีพิธีมอบเกียรติบัตรสำหรับนักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียน จนได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ตลอดหลักสูตร จำนวน 33 คน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนๆและน้องๆในการเรียน
ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และให้กำลังใจแก่นักศึกษา บุคลากร ซึ่งเป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยมีคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณาจารย์จากทุกคณะฯ ทุกวิทยาลัย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปรับปรุงข้อมูล : 16/8/2567 9:35:24     ที่มา : กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 4890

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานพิธีสมโภชเชียงใหม่ 729 ปี
9 เมษายน 2568 ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานพิธีสมโภชเชียงใหม่ 729 ปี “นครเชียงใหม่เมืองแห่งความสุขด้วยวิถีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นงานสำคัญทางวัฒนธรรมและประเพณีของเชียงใหม่ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2568 โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ในการประชุมวันนี้ ได้มีการติดตามความคืบหน้าภารกิจของคณะทำงานแต่ละฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมสำคัญต่างๆ ภายในงาน ได้แก่ การจัดเตรียมสถานที่ การต้อนรับแขกและผู้ร่วมงาน พิธีทางศาสนา พิธีบวงสรวง ขบวนแห่เครื่องสักการะ ขบวนฟ้อนเล็บ การรักษาความสงบและการจราจร หน่วยปฐมพยาบาล การประชาสัมพันธ์ และการเตรียมพร้อมสำหรับการบันทึกสถิติโลก ที่ประชุมเน้นย้ำว่า การเตรียมความพร้อมของงานจะต้องแล้วเสร็จเป็นรูปธรรมภายในวันที่ 16 เมษายนนี้ เพื่อให้ทันต่อการจัดงานและดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไฮไลท์สำคัญที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างเฝ้าชมในงานครั้งนี้ คือ การฟ้อนเล็บรำถวายตามแบบฉบับประเพณีล้านนา เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่เชียงใหม่ครบรอบ 729 ปี และจะมีการดำเนินการเพื่อบันทึกสถิติโลกของกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดอีกด้วย โดยมีช่างฟ้อนทั้งมืออาชีพและจิตอาสาภาคประชาชนเข้าร่วมฟ้อนถวาย ซึ่งขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 10,000 คน การฟ้อนจะเริ่มขึ้นในช่วงเย็น เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นต้นไป โดยจะกระจายกันฟ้อนในพื้นที่ต่างๆ รอบตัวเมืองเชียงใหม่ และขณะนี้มีการซักซ้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันจริงการจัดงานพิธีสมโภชเชียงใหม่ 729 ปี“นครเชียงใหม่เมืองแห่งความสุขด้วยวิถีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนา อนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และถวายสักการะแด่บูรพกษัตริย์และอดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตามขนบธรรมเนียมล้านนา เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่เชียงใหม่ครบรอบ 729 ปี
10 เมษายน 2568     |      5320
การทำผลิตภัณฑ์เครื่องหอมจากสมุนไพรไทย
4 เมษายน 2568 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บูรณาการร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอบรมเชิงปฏิบัติ ณ ครัวอิ่มอุ่น พี่เพื่อน้องแม่โจ้ โดยนำผลงานวิจัยของคณะศิลปศาสตร์มาถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผลิตภัณฑ์เครื่องหอมจากสมุนไพรไทย แก่บุคลากรกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อต่อยอดนำไป สักการะศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ศาลเจ้าพ่อ แม่โจ้และจัดชุดดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และผู้อาวุโส อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความอนุเคราะห์จากบุคลากรสังกัดกลุ่มวิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก ดังนี้อาจารย์สุวรรณ เลียงหิรัญถาวรผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูลผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร คำยอดผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงหทัย ลือดังอาจารย์ ดร.ลักขณา ชาปู่อาจารย์อาภาลัย สุขสำราญ
4 เมษายน 2568     |      580
กิจกรรม “เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมการทำอาหารล้านนา : ข้าวซอยไก่"
7 มีนาคม 2568. เวลา 15.00 -17.00 น กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บูรณาการกิจกรรมกับคณะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล และผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุนทร คำยอด นำนักศึกษาจีนในรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมล้านนา ของหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำกิจกรรม “เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมการทำอาหารล้านนา : ข้าวซอยไก่" โดยมีผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นวิทยากร ณ ครัวอิ่มอุ่นพี่เพื่อน้อง
10 มีนาคม 2568     |      1682