กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมอบรมเทคนิคการประกวดภาพถ่ายสารคดีด้านเกษตรล้านนา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานเปิด และนางสมพร แรกชำนาญ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน ในการนี้ อาจารย์ ดร. ทองเลียน บัวจูม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี เข้าร่วมเป็นเกียรติกับกิจกรรมตลอดรายการ กิจกรรมดังกล่าวมี รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์ และอาจารย์วิศาล น้ำค้าง เป็นวิทยากรบรรยายช่วงเวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ห้องมณีปักษี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับช่วงบ่ายเวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น. เป็นการถ่ายภาพภาคสนามในประเพณีแฮกนาใหญ่ พิธีมัดมือควาย และการถ่ายภาพบุคคลร่วมกับศิลปวัฒนธรรมประเพณี ณ ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชมรมถ่ายภาพเชียงใหม่, เชียงใหม่โฟโต้คลับ, คณาจารย์, นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมอบรมพร้อมถ่ายภาพภาคสนาม มากกว่า ๘๐ คน

ปรับปรุงข้อมูล : 8/6/2556 11:00:22     ที่มา : กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 3958

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

พิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2567
19 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส และอธิการบดี ประจำปี 2567 ร่วมสืบสานประเพณี ปีใหม่เมือง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานอวยพรปีใหม่ โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนกล่าวขอขมาและขอพร จากนั้นคณะผู้บริหาร ผู้แทนแต่คณะ/สำนัก ร่วมประเคนของดำหัวผู้อาวุโส ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้พิธีดำหัวอธิการบดีและผู้อาวุโสของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการร่วมขอขมา คารวะผู้อาวุโส และเป็นการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา หรือประเพณีปีใหม่ไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้คงอยู่สืบไป โดยในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 08.30 น. นายกสภามหาวิทยาลัย รก.อธิการบดีพร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมพิธีสักการะดำหัว เจ้าแม่โจ้-เจ้าพ่อโจ้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของชาวแม่โจ้เพื่อเป็นการขอขมาและความเป็นสิริมงคลจากนั้น ในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป มีการเคลื่อนขบวนแห่เครื่องดำหัวของแต่ละหน่วยงานมาเข้าร่วมพิธี ซึ่งในปีนี้ได้มีกิจกรรมการประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว ประกวดผู้ถือป้าย ประกวดลาบเมือง และ ประกวดส้มตำลีลา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร ซึ่งหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมีดังนี้การประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว รางวัลชนะเลิศประเภทขบวนขนาดเล็ก ได้แก่ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำการประกวดขบวนแห่เครื่องดำหัว รางวัลชนะเลิศประเภทขบวนขนาดใหญ่ ได้แก่ คณะผลิตกรรมการเกษตรการประกวดลาบ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานมหาวิทยาลัยการประกวดส้มตำลีลา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ครื้นเครง สร้างความสัมพันธ์ในองค์กร และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงาม
22 เมษายน 2567     |      10
ร่วมพิธีสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ผู้ว่าราชการจังหวัด" ประจำปี 2567
16 เมษายน 2567 นางอุไรภัสร์ ชัยเรืองวุฒิ หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทยพร้อมด้วยนายกองค์กการนักศึกษาและนักศึกษา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ผู้ว่าราชการจังหวัด" ประจำปี 2567 โดยมี นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์, นายชัชวาลย์ ปัญญา, นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด และนายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย หน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนชาวเชียงใหม่จาก 25 อำเภอ จัดขบวนแห่เครื่องสระเกล้าดำหัวแบบล้านนา จากบริเวณข่วงประตูท่าแพ ไปยังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยริ้วขบวนมีเครื่องสระเกล้าดำหัวที่งดงามตามประเพณีแบบล้านนา เพื่อขอสุมาคารวะ แสดงความเคารพ และขอพรจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และภริยา เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และเป็นส่วนหนึ่งของงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
22 เมษายน 2567     |      10
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" พื้นที่ภาคเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำอาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรและนักศึกษาร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ครั้งที่ 2 ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน และช่วงบ่ายในเวลา 13.30 น. มี นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานประกอบพิธี โดยมีพระภิกษุ สามเณร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีกว่า 4,000 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ช่วงเช้า ได้มีการจัดริ้วขบวนแห่อัญเชิญเครื่องราชสักการะ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนองค์พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขบวนพระบรมฉายาลักษณ์ ขบวนเครื่องบูชา ขบวนเครื่องสักการะ และการฟ้อนรำถวายจากคณะช่างฟ้อน 500 คน เคลื่อนขบวนเข้าสู่โถงนิทรรศการ ต่อมา นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ในภาคเช้า โดยมีการกล่าวปาฐกถาธรรมพิเศษ จาก พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เรื่อง "สาลิกาป้อนเหยื่อ" พร้อมทั้งมีการแสดงพระธรรมเทศนา จำนวน 2 กัณฑ์ โดย พระมหาภูวนาถ อรุณเมธี และ พระครูสังฆภารวิมล (รัตน์ติพงศ์) มหาคมฺภีรว์โส พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้ร่วมพิธีได้รับฟังพุทธธรรมตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงเจริญวัฒนาสืบไปช่วงบ่าย นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เป็นประธานประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการฟ้อนรำในชุด "อลังการล้านนาแว่นฟ้าเวียงพิงค์" จากนั้นได้มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ การแสดงพระธรรมเทศนา "ปุจฉาวิสัชนา" (เทศน์สองธรรมมาสน์) โดย พระเทพวชิรวาที และ พระครูปลัดธีร์นวัช ญาณสิทฺธาวาที เป็นการเทศน์ที่พระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามและพระรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถาม-ตอบในเรื่องธรรม และเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิธีการเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนาให้แพร่หลายสืบไป และเพื่อให้เกิดความรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ทำนุบำรุงศาสนา และศิลปะวัฒนธรรม
5 เมษายน 2567     |      58