กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้  รับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้มีความสามารถและสนใจเข้าร่วมประกวด

 การอ่านทำนองเสนาะ ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

ผู้จัด:

หลักสูตรภาษาไทย สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับคณะกรรมการบริหาร "กองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น" กระทรวงวัฒนธรรม และมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนรสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  

จัดโครงการประกวดการอ่านทำนองเสนาะระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒  ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  "สรวลเสียงเสนาะทำนองขับ-พากย์-อ่าน-ร้อง ซ้องถวาย"


คุณสมบัติ:

- กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี

- มีหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต้นสังกัด

 

ประเภท:

- อุดมศึกษาชาย

- อุดมศึกษาหญิง

 

ขั้นตอนการสมัคร:

ผู้สมัครจะต้องบันทึกเสียงอ่านทำนองเสนาะต่างๆ  ดังนี้

- โคลงสี่สุภาพ

- กลอนสี่สุภาพ

- กลอนเสภา

- อินทรวิเชียรฉันท์

- ฉบัง

- ยานี

จากนั้นส่งแผ่นซีดีบันทึกเสียงอ่านทำนองเสนาะ (บันทึกเป็นไฟล์ MP3) พร้อมใบสมัครและหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาสถานศึกษาต้นสังกัด  ภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ไปที่

โครงการประกวดการอ่านทำนองเสนาะ ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ๔๐๐๐๒

 

คณะกรรมการจะพิจารณาคัดกรองจากแผ่นซีดีบันทึกเสียง  ให้เหลือผู้ผ่านเข้าชิงชนะเลิศ จำนวน ๑๐ คน (ชาย ๕ หญิง ๕) 

และโทรศัพท์แจ้งผลผู้ผ่านเข้ารอบ ในวันที่  ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔

 

บทอ่านทำนองเสนาะสำหรับบันทึกเสียงส่งเข้าสมัคร

โคลงสี่สุภาพ

       มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์

แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทิดหล้า

ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่

เกียรติศักดิ์รักของข้า มอบไว้แก่ตัว

 

กลอนสุภาพ

ศักดิ์ ประมูลพูนเพิ่มเฉลิมศักดิ์

สิทธิ์ เหมือนรามปราบยักษ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์

ฤทธิ์ อรีแรงร้ายจงพ่ายฤทธิ์

ชัย วิชิตทุกทีจงมีชัย

ปราบ อรินสิ้นเหิมเริ่มปราบ

ได้ ให้ราบแรงลานอย่าผลาญได้

ไป ถึงไหนอริพินาศไป

ทั่ว โลกชมชื่อไทยไปทั่วเทอญ

 

กลอนเสภา

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท บรมนาถนฤบดินทร์ปิ่นสยาม

ได้ปกเกล้าเกษมสุขทุกโมงยาม พึ่งพระรามจอมดินสิ้นภยา

ข้าพระบาทจะขับเสภาถวาย หมายบำเรอวรบาทให้หรรษา

ขอภูมินทร์ปิ่นปักอยุธยา ทรงเมตตากรุณาและขันตี

อันกล่าวกลอนสุนทรวจีกล่อม ย่อมบกพร่องท่องจำไม่ได้ที่

แม้พลั้งพลาดขาดเกินซึ่งวาที ขอภูมีโปรดประทานซึ่งอภัย

 

อินทรวิเชียรฉันท์

ไร้ปิ่นดิลกราชย์ ละก็ชาติจะภินท์พัง

ไหนเลยจะตั้งหวัง อิสรานุภาพครอง

โลกเราสง่างาม ก็เพราะแสงตะวันส่อง

สิ้นแสงระวีต้อง มละทั่วนะฉันใด

อันปวงประชาเปรม ฤดิพึ่งพระเดชไท้

เดชดับก็มืดใน ฤดิหม่นละแน่นอน

ราตรีสว่างแจ้ง ก็เพราะแสงนิศากร

โกฏิดาว ณ อัมพร ก็บ่เท่าพระจันทร์เดียว

อันว่าพระคุณเปรียบ วรโสมะนั่นเทียว

ไร้นาถะข้าเหลียว จะประสบพระเจ้าไหน?

 

ฉบัง

ข้าขอกล่าวคำทำนูล นบพระนเรนทร์สูร

ผดุงพิภพภูมิสยาม

ทุกเทศเขตด้าวราวคาม บันลือพระนาม

นิยมพระยศภูวไนย

ชื่นจิตทุกตนคนไทย ต่างร้องอวยชัย

ถวายพระพรชัยมงคล

ขอจงจำเริญพระชม มายุยังผล

บังเกิดแก่ชาติศาสนา

บ้านเมืองเรืองรุ่งลือชา สมแก่เวลา

ทันเทียมที่อื่นหมื่นแสน

เป็นสุขสนุกทั่วดินแดน เทียบเทียมเมืองแมน

อันแสนเกษมเปรมปรีดิ์

 

ยานี

ข้าเจ้าเหล่าพสก พร้อมกันยกหัตถ์วัรทา

แลขอปฏิญญา แด่พระองค์ผู้ทรงธรรม์

ขอพระองค์พระไตรรัตน์ ที่พึ่งสัตว์สารพัน

อีกเทวะเทวัญ เป็นพยาน ณ กาลนี้

ข้าเจ้าผู้เป็นไทย จงใจรักและภักดี

ต่อองค์พระทรงศรี สถิตเกล้าเหล่าประชา

ขอพึ่งพระสมภาร ทุกวันวานขอเป็นข้า

เต็มใจใฝ่อาสา เพื่อต่อสู้หมู่ไพรี

 

การประกวดรอบชิงชนะเลิศ

ผู้ผ่านเข้ารอบ ๑๐ คนสุดท้าย  ต้องไปประกวดอ่านทำนองเสนาะต่อหน้าคณะกรรมการ   ในวันพุธที่  ๒๑  กันยายน ๒๕๕๔  ณ สถาบันคึกฤทธิ์

โดยแบ่งออกเป็น  ๒ ส่วน คือ

- "ฉันทพากย์ยากล้ำลำเค็ญ"  

   ผู้ผ่านเข้ารอบจะทราบล่วงหน้าก่อนการอ่านประกวด ประมาณ  ๑๐ นาที

- "ระงมดนตรี คือเสียงกวี สำเนียงนิรันดร์"

    ผู้ผ่านเข้ารอบต้องแสดงความสามารถพิเศษในการขับร้องเพลงไทย โดยจับฉลากเลือกเพลงไทยที่จะขับร้องประกวดเพียง  ๑ เพลง จากที่กำหนดไว้ ๕ เพลง  ได้แก่

     ๑  เพลงช้างประสานงา

     ๒  เพลงนางนาค

     ๓  เพลงฝรั่งรำเท้า

     ๔  เพลงสมิงทองมอญ

     ๕  เพลงสารถีชักรถ

ทั้งนี้  คณะกรรมการผู้จัดการประกวดจะส่งเพลงไทยทั้ง ๕ เพลง  ให้ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายนำไปฝึกซ้อมล่วงหน้า  ตั้งแต่วันที่ทราบผลการพิจารณาผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

 

เกณฑ์การให้คะแนน:

๑  ความไพเราะของน้ำเสียง ๒๐  คะแนน

๒  การอ่านถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดเจน ไม่อ่านผิด     ๒๐  คะแนน

๓  การแสดงอารมณ์ความรู้สึกเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ ๒๐  คะแนน

๔  ทำนองการอ่านถูกต้องตามแบบแผนบังคับของคำประพันธ์ ๒๐  คะแนน

๕  ความคิดสร้างสรรค์ ๒๐  คะแนน

 

รางวัล:

รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน  พร้อมเงินรางวัล  ๑๐,๐๐๐ บาท

(รวม ๒ รางวัล  ชาย  ๑ รางวัล  หญิง  ๑ รางวัล)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เกียรติบัตร  พร้อมเงินรางวัล  ๘,๐๐๐ บาท

(รวม ๒ รางวัล  ชาย  ๑ รางวัล  หญิง  ๑ รางวัล)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ เกียรติบัตร  พร้อมเงินรางวัล  ๕,๐๐๐ บาท

(รวม ๒ รางวัล  ชาย  ๑ รางวัล  หญิง  ๑ รางวัล)

รางวัลชมเชย เกียรติบัตร  พร้อมเงินรางวัล  ๓,๐๐๐ บาท

(รวม ๔ รางวัล  ชาย  ๒ รางวัล  หญิง  ๒ รางวัล)

 

ติดต่อขอใบสมัคร และรายละเอียดเพิ่มเติม ที่:

งานดนตรีและนันทนาการ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม หรือห้องวงดนตรีแม่โจ้แบนด์  ชั้นล่าง ศูนย์กิจการนักศึกษา อำนวย  ยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

 

      




ปรับปรุงข้อมูล : 8/4/2554 16:31:52     ที่มา : กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 5175

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" พื้นที่ภาคเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำอาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากรและนักศึกษาร่วมงาน "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ครั้งที่ 2 ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. มี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน และช่วงบ่ายในเวลา 13.30 น. มี นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานประกอบพิธี โดยมีพระภิกษุ สามเณร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีกว่า 4,000 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ช่วงเช้า ได้มีการจัดริ้วขบวนแห่อัญเชิญเครื่องราชสักการะ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนองค์พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ขบวนพระบรมฉายาลักษณ์ ขบวนเครื่องบูชา ขบวนเครื่องสักการะ และการฟ้อนรำถวายจากคณะช่างฟ้อน 500 คน เคลื่อนขบวนเข้าสู่โถงนิทรรศการ ต่อมา นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" ในภาคเช้า โดยมีการกล่าวปาฐกถาธรรมพิเศษ จาก พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เรื่อง "สาลิกาป้อนเหยื่อ" พร้อมทั้งมีการแสดงพระธรรมเทศนา จำนวน 2 กัณฑ์ โดย พระมหาภูวนาถ อรุณเมธี และ พระครูสังฆภารวิมล (รัตน์ติพงศ์) มหาคมฺภีรว์โส พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้ร่วมพิธีได้รับฟังพุทธธรรมตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงเจริญวัฒนาสืบไปช่วงบ่าย นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้เป็นประธานประกอบพิธี "เทศนาธรรม 4 ภาค ทั่วไทย" โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการฟ้อนรำในชุด "อลังการล้านนาแว่นฟ้าเวียงพิงค์" จากนั้นได้มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ การแสดงพระธรรมเทศนา "ปุจฉาวิสัชนา" (เทศน์สองธรรมมาสน์) โดย พระเทพวชิรวาที และ พระครูปลัดธีร์นวัช ญาณสิทฺธาวาที เป็นการเทศน์ที่พระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามและพระรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถาม-ตอบในเรื่องธรรม และเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิธีการเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนาให้แพร่หลายสืบไป และเพื่อให้เกิดความรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ทำนุบำรุงศาสนา และศิลปะวัฒนธรรม
5 เมษายน 2567     |      52
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567
2 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้อำนวยการและหัวหน้างานกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะและร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายเหนือ กงสุลกิตติมศักดิ์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพสกนิกรจังหวัดเชียงใหม่ร่วมพิธี ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
3 เมษายน 2567     |      49
โครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน)
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการทบทวนแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (รอบ 6 เดือน) ณ ห้องประชุมนนทรี เก๊าไม้ล้านนา รีสอร์ท อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้ดูแลตัวชี้วัดด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมจากคณะฯ สำนักฯ วิทยาลัยฯ กองฯ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆร่วมโครงการ กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ช่วงเช้าได้รายงานผลการดำเนินงาน และรวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจากผู้แทนระดับคณะ สำนัก วิทยาลัย กองและผู้แทนนักศึกษา จากนั้นช่วงบ่ายรับฟังข้อเสนอแนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และร่วมกันทบทวน กำกับ และติดตามเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติกานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในครึ่งปีหลังต่อไป
27 มีนาคม 2567     |      128
เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย"
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมจัดพิธี "โครงการ พระธรรมเทศนา 4 ภาคทั่วไทย" ในหนเหนือ ครั้งที่ 2 เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีพระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายนิรัตน์ พงศ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมาย นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการประชุม ณ ห้องประชุม วัดพระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
18 มีนาคม 2567     |      203