กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Arts and Culture Promotion Division
สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าศึกษาดูงานกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 นางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพร้อมด้วยหัวหน้างานและบุคลากร ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่องพร้อมด้วยบุคลากร โดยรับชมวีดีทัศน์แนะนำกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและวีดีทัศน์รายงานผลการดำเนินงานของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จากนั้นได้ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในองค์กร จากนั้นกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้นำคณะศึกษาดูงานขึ้นรถนำเที่ยวชมเส้นทางท่องเที่ยวสายตำนานวัฒนธรรมแม่โจ้ โดยนำเยี่ยมชมห้องฝึกซ้อมวงดนตรีแม่โจ้แบนด์ อาคารพุทธมิ่งมงคล ห้องฝึกซ้อมดนตรีไทยและนาฏศิลป์ อาคารเรือนชีวะ พิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย ศาลเจ้าพ่อโจ้ สระเกษตรสนาน และถ่ายภาพร่วมกัน ณ อาคารเรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี
1 กุมภาพันธ์ 2567     |      183
ถวายมุทิตาสักการะ พิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ 51 ปี 31 พรรษา"พระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์"
วันที่ 9 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย อาจารย์มาลี ล้วนแก้ว คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อาจารย์บุคลากร น้อมกราบถวายมุทิตาสักการะ ในพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ 51 ปี 31 พรรษา"พระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์" รองเจ้าคณะอำเภอแม่ริม เจ้าอาวาสวัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาลศักดิ์สิทธิ์) และประธานมูลนิธิ 1016 เพื่อการกุศลและร่วมทำบุญหล่อพระพุทธมงคลเศรษฐี บารมีค้ำฟ้า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่วันที่ 10 มกราคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำนักศึกษาเข้ารับมอบข้าวสารอาหารแห้ง ในพิธีมอบข้าวสารอาหารแห้งแก่นิสิตนักศึกษาในเขตอำเภอแม่ริม จำนวน 2,000 คน และมอบทุนการศึกษาแก่สถานศึกษา จำนวน 22 สถานศึกษา สถานศึกษาละ 10,000 บาท ณ วัดลัฏฐิวัน(พระนอนขอนตาลศักดิ์สิทธิ์) ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
15 มกราคม 2567     |      364
พิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์และพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจัดพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ ประจำปี 2567 พร้อมกันนี้ได้จัดพิธีทำบุญอาคารเรือนชีวะหรือโรงเรียนเทพศาสตร์ในโอกาสปรับปรุงอาคารใหม่ โดยมี ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์และนักศึกษาปัจจุบันร่วมพิธี โดยเวลา 09.09 น.พระสงฆ์ 5 รูปสวดเจริญพุทธมนต์และเทศนาจำนวน 1 กัณฑ์จากนั้นเวลา 11.29 น ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นประธานพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีอาจารย์อาทิตย์ วงศ์สว่าง เป็นเจ้าพิธีพร้อมด้วยอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาร่วมในพิธี ณ เรือนชีวะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่โรงเรียนเทพศาสตร์หรือเรือนชีวะในปัจจุบัน เป็นอนุสรณ์สำคัญสิ่งหนึ่งในแม่โจ้ ที่อาจารย์พนม สมิตานนท์สร้างไว้ คือ โรงเรียน เพื่อให้ลูกหลานของครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงาน และบุคคลทั่วไป ได้มีสถานที่เล่าเรียน (น่าจะเป็นต้นแบบของโรงเรียนสาธิตต่างๆ ในปัจจุบัน) คือ โรงเรียน “เทพศาสตร์” เพื่อรำลึกถึง “พระยาเทพศาสตร์สถิตย์” ที่พระช่วงเกษตรศิลปการ ศรัทธา เคารพ นับถือ ในการทำงานสมัยเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม บางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แม่โจ้ได้ถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีอาจารย์พนม สมิตานนท์ กลับมาเป็นเป็นผู้อำนวยการอีกวาระหนึ่งนั้น อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นระยะข้าวยากหมากแพง การเดินทางด้วยพาหนะรถยนต์ยังมีข้อจำกัด อาจารย์พนม สมิตานนท์ เล็งเห็นว่าลูกหลานครูอาจารย์ ข้าราชการและคนงาน จำเป็นต้องได้รับการศึกษา แต่การส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองนั้นยากลำบาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้จะมีโรงเรียนใกล้ๆ เช่น โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ก็เปิดทำการสอนแค่ระดับชั้นประถม ๔ เท่านั้นท่านจึงได้ทำเรื่องขออนุญาตต่อทางจังหวัดเพื่อจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในแม่โจ้ ชื่อ “โรงเรียนเทพศาสตร์” ตามชื่อของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ ผู้วางรากฐานวิชาการและการพัฒนางานเกษตรกรรมของประเทศ โดยอาศัยครูอาจารย์ ที่มีวุฒิ มีความรู้ความสามารถทำการสอน โดยเฉพาะได้อาจารย์บุญมี สมิตานนท์ ภริยาของอาจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนเรยินาเชลีมาก่อน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการบริหารและจัดการโรงเรียนในระยะเริ่มแรก โดยใช้อาคารชั่วคราว เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมูล (อนุบาล) จนถึง ประถม ๔ ในระยะเริ่มแรกนั้น เด็กนักเรียน โรงเรียนเทพศาสตร์ที่จะจบการศึกษาชั้น ป.๔ ได้นั้นจะต้องไปทำการสอบไล่เพื่อรับรองความรู้ของ กระทรวงฯ ที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ซึ่งนักเรียนก็สามารถสอบผ่านมาตรฐานที่กำหนดได้ทุกคน (รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)โรงเรียนเทพศาสตร์ ได้รับความนิยมจากชุมชนในหมู่บ้านแม่โจ้และอื่นๆ ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน นับว่าได้เอื้อประโยชน์และแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครอง นักเรียนอย่างมาก นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาโรงเรียนเทพศาสตร์จะได้ใบประกาศนียบัตรจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย (เป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย)ตัวอาคารเรียนนั้น ได้มีการพัฒนาจนครั้งสุดท้าย ได้ใช้อาคาร “เรือนชีวะ” หรือหอชีวะ เป็นโรงเรียนโดยถาวรในระดับมัธยมศึกษาศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์มีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ คน เช่น-รศ.ดร.มณฑารพ จักกะพาก (นามสกุลเดิม สมิตานนท์) ลูกสาวอาจารย์พนม สมิตานนท์-ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-อาจารย์พัชรินทร์ สุกัณศีล ลูกสาวอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย-คุณขวัญชัย สกุลทอง-คุณบุญล้อม ถวาย-คุณสว่าง กานิล-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-คุณสุชาติ วาทกิจ-อาจารย์กมลา คำสุข-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-อาจารย์ชุมพล รินคำ-คุณบังอร เมฆะเป็นต้น (ยังมีอีกจำนวนหลายร้อยคน รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)นอกจากนี้ยังมีสะใภ้แม่โจ้ ๒๐ เช่น -คุณเมธินี (สมิตานนท์) ณ เชียงใหม่ (ภรรยาคุณอุทัย)-คุณมาลี (บุญเจริญ) พึ่งเจริญ (ภรรยาคุณพีรพัฒน์)ปัจจุบัน มีคุณขวัญชัย สกุลทอง เป็นประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศาสตร์อาจารย์โรงเรียนเทพศาสตร์มีจำนวนมากที่ระบุ เช่นรศ.ดร.อานนท์ เที่ยงตรงผศ.ทองอินทร์ หินคาผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณดร.สราญ เพิ่มพูลอาจารย์เจียม ดวงสงค์อาจารย์สุริยันต์ บุญยโพธิ์ยังมีอีกมากมาย (รอการสัมภาษณ์ศิษย์เก่าโรงเรียน ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๗)การดำเนินกิจการโรงเรียนมาจนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายโอกาสการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น โดยการจัดตั้งโรงเรียนสันทรายวิทยาคม ซึ่งจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งโรงเรียนอยู่ในชุมชนหนองหาร ใกล้ๆ แม่โจ้นี่เอง อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดี ได้พิจารณาเห็นว่าได้มีโรงเรียนประจำอำเภอ สันทรายรองรับลูกหลานของชุมชนแล้วความจำเป็นแต่เดิมก็ลดลง จึงให้งดรับนักเรียน และทยอยปิดกิจการลง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นมาเรียบเรียงจากเอกสาร:-รศ.ดร. มณฑารพ จักกะพาก ในหนังสือ “๑๐๐ ปี อาจารย์พนม สมิตานนท์” สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ๒๕๕๓)สัมภาษณ์:-ผศ.ดร.ธนิต มะลิสุวรรณ-คุณบุญทิม วุฒิรัตน์-คุณบุญเลิศ ทรายข้าว-อาจารย์กมลา คำสุข
15 มกราคม 2567     |      133
อธิการบดี ม.แม่โจ้ เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้
24 ธันวาคม 2566 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ณ เวทีกลางลานจัตุรัสนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นางกัณณิกา ข้ามสี่ และหัวหน้างานดนตรีและนันทนาการ นายวิทชัย สุขเพราะนา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว สำหรับการจัดประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เพลงไทยลูกทุ่ง ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ซึ่งการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความสามารถ และทักษะทางด้านการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง โดยมีผู้ปกครอง คณะครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นกำลังใจ และรับชม รับฟังการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งเป็นจำนวนมากผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย” และการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้ งานวันเกษตรแม่โจ้ 90 ปี : เกษตร อาหาร สุขภาพ ดังนี้ผลการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง “ลูกทุ่ง ม.ปลาย”รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวนันทิกานต์ ยองสุวรรณรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศศิกานต์ วงศ์แสนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวภัคจิรา กาปัญญการางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ นายศุภสันต์ สุวรรณนัง และนายนาวี ดวงมณีผลการประกวดแต่งบทเพลงแม่โจ้บทเพลงจังหวะรำวง ชื่อเพลง รำวงแม่โจ้ 90 ปี ได้แก่ คุณประเสริฐ ฝักฝ่ายบทเพลงจังหวะลูกทุ่งอเมริกา (Country) ชื่อเพลง เพลง 90 ปีแม่โจ้ ได้แก่ คุณบูรพา กันยาเลิศ
9 มกราคม 2567     |      68
ทั้งหมด 82 หน้า